ประวัติศาสตร์

 
กำแพงเมืองเก่าและป้อมปืนเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 โดยมีศูนย์กลางการปกครอง
หรือ สถานที่ตั้งเมือง 3 แห่งโดยสามารถลำดับจากพัฒนาการ ได้แก่

เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง
                สันนิษฐานว่าเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงน่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่  ๒๒  ถึงปลายพุทธศตวรรษที่  ๒๓ 
เพราะเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่ปรากฏอยู่นั้น  มีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่  ๑๗-๑๘  โดยปรากฏชื่อในเอกสารต่าง ๆ 
ของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า  Singora  บ้าง  Singor  บ้างซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า  สิงขร”  หรือ  “สิงหลา”  ที่แปลว่าจอม 
ที่สูงสุดยอดเขา  และเป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลาที่มีภูเขามากมาย  เช่น  เขาแดง  เขาตังกวน  เขาน้อย 
เกาะหนูและเกาะแมว  เมืองสงขลาฝั่งเขาแดงอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองชาวมุสลิมที่หนีภยจากโจรสลัด
ที่คุกคามอย่างหนัก  โดยปรากฏในเอกสารของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายไม่ว่าจะเป็นจดหมายของนายแมร์  เทนเฮาต์แมน 
พ่อค้าชาวดัตซ์  เรียกเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า  “โมกุล”  ในขณะที่บันทึกของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
เรียกชื่อเจ้าเมืองสงขลาว่า  “โมกอล”  ซึ่งในช่วงเวลานั้นตรงกับสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ  ราว  พ.ศ.  ๒๑๕๓-๒๑๕๔
                คุณสุภัทร  สุคนธาภิรมณ์  ณ พัทลุง  ซึ่งเป็นเชื้อสายโดยตรงของสุลต่านสุไลมานได้เล่าว่าประมาณ 
พ.ศ. ๒๑๔๕  ดาโต๊ะโมกอล  ซึ่งเคยปกครองเมืองสาเลย์  ที่เป็นเมืองลูกของจาการ์ตาบนเกาะชวา  หรืออินโดนีเซีย
ในปัจจุบัน  ได้อพยพครอบครัวและบริวารหนีภัยจากการเล่าเมืองขึ้นลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดง
  แขวงเมืองสงขลา  เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลที่ปกครองบ้านเมืองมาก่อน  เมื่อเจอทำเลที่เหมาะสม
จึงนำบริวารขึ้นบกสร้างบ้านเรือน และทำท่าจอดเรือขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับเรือสำเภาและเรือกำปั่นที่เดินทางมา ทำการค้าทางทะเลจนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนั้นกลายเป็นเมืองท่าระหว่างประเทศ  โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา  ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถจีงได้ทรงมีพระราชโองการต่างตั้งให้ดาโต๊ะโมกอลเป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้า
กรุงสยาม  ประจำเมืองพัทลุง  อยู่ที่หัวเขาแดง  แขวงเมืองสงขลา

อาคารเก่าศิลปะแบบจีน ส่วนใหญ่นิยมสร้างแบบชั้นเดียว
สุรต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมืองแบบรัฐสุรต่าน ของราชวงค์ ออโตมาน ซึ่งการปกครองแบบนี้แพร่หลายเข้ามายังเกาะสุมาตรา เกาะชวา และรัฐสุรต่านต่างๆ ทางปลายแหลมมาลายู โดยสุลต่านผู้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนี่ จึงดำรงค์ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่วนบุตรชาย สามคนคือ มุสตาฟา ฮุสเซน และ ฮัสซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงทาง กองทัพเรือ ผู้บัญชาการป้อม และ ตำแหน่งการปกครองอื่นๆ ในระบอบการปกครองแบบสุรต่าน
PREVIOUS       NEXT