เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

อาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เรียงรายเป็นระยะอยู่บนถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม

สงขลาฝั่งบ่อยางเป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่  หลังจากเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน  ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจืดและพื้นที่ราบในการขยายเมือง  เจ้าพระยาวิเชียรคีรีก็ทำการตั้งเมืองสงขลาฝั่งบ่อยางในปี  พ.ศ.  ๒๓๗๙  และรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม  โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง  เจ้าพระยาวิเชียรคีรีได้สร้างป้อมกำแพงเมือง  ยาว  ๑,๒๐๐  เมตร  และประตูเมือง  ๑๐  ประตู  หลักจากนั้นได้วางหลักเมืองและสมโภชหลักเมืองในปี  พ.ศ.  ๒๓๘๕  และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า  “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง”  ก่อนที่เจ้าพระยาวิเชียรคีรี  (เถี้ยนเส็ง)  จะถึงแก่กรรมในปี  พ.ศ.  ๒๔๐๘
                ถัดจากนั้น  เจ้าพระยาวิเชียรคีรีลำดับต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาต่อ  และพัฒนาเมืองสงขลาให้เป็นเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานี  ซึ่งเป็นเมืองของมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา  กับเมืองนครศรีธรรมราช  ซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชน  โดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสายสกุล  ณ สงขลา
ซึ่งมี นายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล รวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลา บ่อยาง ดังนี้
ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360 – 2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง
ลำดับที่ 2. พระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ. 2390 – 2408
ลำดับที่ 3. พระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ. 2408 – 2427
ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา) พ.ศ. 2427 – 2431
ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431 – 2439

               ระหว่างปี  พ.ศ.  ๒๔๓๗-๒๔๓๙  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔  ได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์บนยอดเขาตังกวน  และในสมัยรัชกาลที่  ๕  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล  โดยตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชอันประกอบไปด้วยนครศรีธรรมราช  พัทลุง  สงขลา  และหัวเมืองแขกอีก  ๗  เมือง  โดยมีพระวิจิตร  (ปั้น  สุขุม)  ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษ  ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช  ซี่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง  และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง  ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย
ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่า แปดรุ่น ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับสงขลา ขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

 
พระธาตูเจดีย์หลวงตั้งอยู่บนยอดเขาตังกวน ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4   และ   ศาลวิหารแดงซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาตังกวน สร้างโดยพระยาวิเชียรคีรี(เกี้ยนเส็ง) เมื่อปีพ.ศ. 2440     ที่มา :ชัยวัฒน์ ชินอุปราวัฒน์. 2553,49
อาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีส อายุกว่า 100 ปีที่เจ้าของอาคารภาคภูมิใจที่ได้เก็บไว้ให้คนรุ่นหลังชม
 
PREVIOUS       NEXT