พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สถาบันการศึกษา  หน่วยงานคณะบุคคล  และพสกนิกรไทยในโอกาสต่าง ๆ
พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยที่ปฏิบัติราชการอยู่ในต่างประเทศ และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550      ที่มา:คณิตา เลขะกุล. 2551, 49

สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
                “คำว่าหน้าที่หมายถึงกิจที่ต้องทำให้ระบอกประชาธิปไตย  ประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพสมบูรณ์และเมื่อมีสิทธิแล้วย่อมมีหน้าที่รัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศต่าง ๆ  จึงได้บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไว้ให้เป็นหลักปฏิบัติ  สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งควบคู่กันไป  ในด้านสิทธิ  เรามีเสรีภาพในการคิดการทำ  แต่การใช้สิทธิดังกล่าวนี้  ต้องมีหลักที่จะต้องปฏิบัติ  คือ  รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมไว้  เพราะประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศชาติทรงไว้ซึ่งอิสรภาพ  ผลสุดท้ายก็เท่ากับเป็นประโยชน์ของแต่ละคน”
                พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
                                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีการศึกษา  ๒๕๐๓

กฎหมายเป็นใหญ่ในบ้านเมือง
                “...มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนใจมากขึ้น  และที่จะสนใจจริง ๆ  ทั้งเวลาเป็นนักศึกษา  ทั้งเวลาสำเร็จการศึกษาไปแล้ว  จะไปเป็นอาจารย์  หรือจะไปเป็นทนาย  จะไปเป็นผู้พิพากษา  หรือเป็นอะไรก็ตามในทางอาชีพที่เลือกแล้ว  ก็ให้พิจารณาดู  จะทำอย่างไรเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อย  และกฎหมายเป็นใหญ่ในบ้านเมือง”
                                                                                                                พระราชทานแก่คณะกรรมการ
                                                                                                สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
                                                                                                                เมื่อวันที่  ๑๔  ตุลาคม  ๒๕๑๓

ศัตรูภายใน
                “ประชาชนทั่วไปในเมืองไทยนี้รู้สึกว่ารักชาติไม่อยากให้ชาติเป็นอย่างยิ่ง  อย่างเป็นอิสรภาพ  อยากเป็นไทย  แต่ว่าเราต้องป้องกันชาติ  โดยที่ไม่ฟังคำยุยงหรือเมื่อโดนยุยงแล้ว  ต้องพิจารณา  เราไม่ตกหลุมการยุยงนั้นอย่าไปคิดว่ามีการยุยงภายนอกเท่านั้นเองหมายถึง  บุคคลที่สาม  หรือคนอื่นมายุยง  การยุยงนี้มีสองประเภท  ประเภทภายนอก  คือ  ศัตรูบุคคลประเภทที่  ๒  ประเภทภายใน  ภายในของเราเอง  คือ  ความโกรธ  ความโลภ  ความหลง  นั้นเป็นศัตรูเหมือนกัน  เป็นผู้ยุยงแต่ว่าจะแก้ไขได้เช่นเดียวกันทั้งนั้น  ต้องแก้ไขด้วยการพิจารณา  การยั้งคิดก่อนปฏิบัติงานใด ๆ  นี่จะเป็นผลให้เราคนไทยได้อยู่เป็นสุข  มีสิทธิและเสรีภาพตามที่เราต้องการ”
                                                                พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
                                                                                                ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                                                                                เมื่อวันที่  ๓  สิงหาคม  ๒๕๐๔

 

PREVIOUS     NEXT