ที่มา : รักในหลวง ห่วงภาษาไทย: 2544,9
  ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี  "วันภาษาไทยแห่งชาติ " 
                     วันภาษาไทยแห่งชาติ” มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2542 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบในปีนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนชาวไทยได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป โดยกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระกรุณารเสด็จฯไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทาง ภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2542 เห็นชอบให้วันดังกล่าวเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอไปท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในสังคม  ซึ่ง หลายฝ่ายพากันเป็นห่วงภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง  
             พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยภาษาไทยเป็นอย่างยิ่งได้พระราช ทานกระแสพระราชดำรัสในการเสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมประชุมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ทางภาษาไทย ในหัวข้อ "ปัญหาการใช้ภาษาไทย" ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุม ภาษาไทย  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวัน ที่ 29 กรกฎาคม 2505 ความตอนหนึ่งว่า 
           "ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน  ประเทศใกล้เคียงของเราหลาย ประเทศมีภาษาของตนเอง  แต่ว่าเขาไม่ค่อยแข็งแรง  เขาต้องพยายามหาทางที่จะ สร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง  เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมาแต่โบราณ  จึง สมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้" พระราชดำรัสในโอกาสนั้นแสดงถึงพระปรีชาสามารถ และพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาครบหกรอบใน ปี 2542 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทย แห่งชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติตลอดจนกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้ สถาบันการศึกษา  องค์กร  หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  และประชาชนชาว ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย  หวงแหน  และรักษาภาษาไทยซึ่งเป็น เอกลักษณ์ไทย ไม่ให้เสื่อมถอยไป
ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้
       เป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว
                             เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดถึงเรา
                              ทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องรักษาไว้
                 พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คำขวัญการอนุรักษ์ภาษาไทย"อนุรักษ์ภาษาไทย"http://www.chiangmaithailand.tht.in/aticle114.html

 

PREVIOUS   NEXT