ที่ประทับพร้อมรูปปั้น
เจ้าแม่ขนาดเท่าคนจริง

ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย.2547,38
   
    ประเพณีแต่งานกับต้นไม้ของหมู่บ้านสทิงหม้อ  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา
 ไม่ปรากฏว่ามีความเป็นมาอย่างอย่างไร  แต่ตกทอดปฏิบัติมานานตั้งแต่
สมัยปู่ย่าตายาย  จนถึงปัจจุบัน  โดยจะจัดขึ้นเฉพาะช่วงเช้าถึงเที่ยงของวันอังคาร
  และวันเสาร์เดือนใดก็ได้  แต่นิยมจัดในระหว่างเดือนหกถึงเดือนแ
ปด
   
                        
        เดิมต้นไม้ที่  “แม่เจ้า”  หรือ  “เจ้าแม่”  สิงสถิตอยู่นั้น  เป็นต้นมะม่วงใหญ่
ในเขตวัดมะม่วงหมู่  ชาวบ้านจึงเรียกเจ้าแม่องค์นี้ว่า  “เจ้าแม่ม่วงทอง”  ต่อมา
 เมื่อต้นมะม่วงตายลงจึงได้อัญเชิญเจ้าแม่ให้ไปสถิตอยู่ที่ต้นประดู่  แต่เจ้าแม่
ม่วงทองมาเข้าฝันบอกชาวบ้านว่า  ไม่ชอบตันประดู่  เพราะเหม็นกลิ่นกะปิ
ที่ชาวบ้านเชื้อสายมลายูทำกันเป็นอาชีพ  จึงได้อัญเชิญเจ้าแม่มาสถิตที่
ต้นอินทนิลใหญ่หน้าวัดมะม่วงหมู่และสร้างห้องเล็ก ๆ  ก่ออิฐถือปูน
เป็นที่ประทับ  พร้อมปั้นรูปเจ้าแม่ขึ้นขนาดเท่าคนจริงไว้ในห้องนั้น
สำหรับพิธีแต่งงานและสักการะบูชา  ตันอินทนิลใหญ่นั้น  ถ้ามีใครไปตัด
หรือรานกิ่งก็จะเกิดอาการบวมขึ้นมาทั้งตัวโดยกะทันหันและตายในที่สุด

   
   
   
   
   

 

   
     
HOME        MAIN
         ความเป็นมา            พิธีกรรม         ความเชื่อ