พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

 

                พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  เป็นพระราชที่จัดขึ้นเพ่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเป็นกำลังใจแก่เกษตรกรซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  โดยเชื่อว่ามีพิธีลักษณะเช่นนี้มาแต่ครั้งสุโขทัย  กำหนดจัดพิธีดังกล่าวมักอยู่ในช่วงเดือนหกของทุกปี  เพราะระยะนี้เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนา  ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทยแต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ  ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามคติโหราศาสตร์ตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น
                การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี  พ.ศ.  ๒๔๗๙  แล้วก็ว่างเว้นไป  เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จนกระทั่งในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๓  คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน  ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม  อีกทั้งยังมีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย  โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัยและด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของชาวนาและเกษตรกร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีมิได้ขาด  ทั้งได้ทรงดำเนินโครงการส่วนพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในสวนจิตรลดาอีกเป็นอันมาก  เช่น  แปลงทดลองสวนจิตรลดา

                                    
                             
 

                เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาในระยะแรก  พ.ศ.  ๒๕๐๓  นั้น  พระยาแรกนา  ได้แก่  “อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง”  สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ภายหลังพระยาแรกนา  ได้แก่ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตำแหน่ง  ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทองและคู่หาบเงินนั้น  พิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

 
                                                                                                                                                                    PREVIOUS      NEXT