ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

  • ไปไหนไม่ต้องบอกลา
  • ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน2
  • ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้) 3
  • เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
  • จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
 

 กฐินบุญประเพณี...สืบทอดพุทธศาสนา
                เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามายังสุวรรณภูมิและประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตสถาพร   ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  การทอดกฐินจึงกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา   พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งการที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จทรง
 บำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีทำให้เรียกกฐินนี้ว่า  กฐินหลวง  วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์
  หรือวัดหลวง  หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว  เรียกว่า  กฐินหลวง  ทั้งสิ้น 
 ในสมัยต่อ ๆ มา  เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น  ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน 
ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ  เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่าง ๆ 
                1.  กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
                2.  กฐินต้น
                3.  กฐินพระราชทาน

                                                             
 
                                                                                                <<PREVIOUS>>NEXT