|
กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญ ๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อยปัจจุบัน พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 16 วัดในกรุงเทพมหานคร 12 วัด วัดพระเชตุพนมิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุวราชรังสฤษฎ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม ส่วนในภูมิภาคมีที่วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม วัดสุวรรณดาราราม และวัดนิเวศน์ธรรม ประวัติในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8-9 วัด เท่านั้น กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้านอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย (ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สนง. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)
|
ที่มา : ประเพณีทอดกฐิน http://www.watwashington.org/Kathin/Kathin's%20bioTh.htm |
กฐินต้น
กฐินต้นเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการ หรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว. เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า
กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใด ๆ พอพระราชหฤทัยที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นเพราะว่าเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2447 เสด็จทรงเรือนมาต 4 แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อมได้ทรงพระกรุณาโปรด ฯ ซื้อเรือมาต 4 แจวเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำ พระราชทานนามเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรมที่เมืองราชบุรีเกือบ 3 ทุ่ม การประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่าเรือนต้นกันต่อมา
การจะไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดโดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายพระกฐินมาก่อน
2. ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
3. ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย |
กฐินพระราชทาน
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอหพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง
นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัด) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
และควรถวายหลังวัดแรม 6 ค่ำ เดือน 11 หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน
วันแรกแล้ว ( กชพร.2548.กฐิน บุญประเพณี...สืบทอดพุทธศาสนา, 36-37)
|
|
|