เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับ ที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็กพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงช่วย ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ขึ้น และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงช่วยแก้ไข แล้วพระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489

 ใกล้รุ่ง

ได้ยินเสียงแว่วดังแผ่วมาแต่ไกลไกล
ชุ่มชื่นฤทัยหวานใดจะปาน
ฟังเสียงบรรเลงกับเพลงประสาน
จากทิพย์วิมานประทานกล่อมใจ
ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง
ฉันคอยมองจ้องฟ้าเรืองรำไร
ลมโบกโบยมาหนาวใจ
รอช้าเพียงไรตะวันจะมา
เพลิดเพลินฤทัยฟังไก่ประสานเสียงกัน
ดอกมะลิวัลย์อวลกลิ่นระคนมณฑา
โอ้ในยามนี้เพลินหนักหนาแสงทองนวลผ่องนภา
แสนเพลินอุราสำราญ
หมู่มวลวิหคบินผกมาแต่รังนอน
เฝ้าเชยชิดช้อนลิ้มชมบัวบาน
ยินเสียงบรรเลงดังเพลงขับขาน
สอดคล้องกังวานซาบซ่านจับใจ

 

ดวงใจกับความรัก
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

ค่ำคืนนภาดาราพราว
ประกายแสงดาวพราวตา
ดาษเรียงเคียงแสงดวงจันทรา
เพลินชมแสงพรายนภาเห็นดวงดาราล้อมจันทร์
ที่จริงนั้นเดือนและดวงดาว
ต่างเรืองแสงวาวพราวพรรณ
ด้วยแรงจากแสงดวงตะวัน
จึงมีแสงเดือนงามครันแสงดาวประชันน่าชม
เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
เปล่งแววไปเปลี่ยนใจชม
ด้วยจินตนาอารมณ์นานาประการ
แน่นอนแท้จริงคือดวงใจ
ส่องแววรักไปยืนนาน
เปรียบดังกับแสงตะวันตระการ
ยังคงแสงงามสะคราญแสงทองยืนนานเรื่อยมา
ตะวันฉายมาดาราราย
ส่องแสงพริ้มพรายนัยน์ตา
รื่นรมย์ชมแสงดวงจันทรา
ชมดาวล้อมเดือนงามตาพริ้มพรายนภาแสงงาม
มาตรแม้นสูญดวงตะวันไป
ประดาแสงในฟ้าทราม
ผู้คนสัตว์ไม้จะตายตาม
ตะวันสูญไปเป็นยามล้วนมีแต่ความมืดมน
เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
เปล่งแววไปต่างใจคน
เปลี่ยนแปลงไปตามใจตนเวียนวนจนตาย
ตะวันนั้นเหมือนดังดวงใจ
หากสิ้นแสงไปรักคลาย
ขาดความรักเหมือนชีวาวาย
จะเป็นหรือตายทั้งใจและกายไม่วายโศรกโทรม

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย ในงานเฉลิมพระชนมพรรณาปีนั้น (วันเสาร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๐) หลังจากได้เสวยพระกระยาหารและนักดนตรีได้รับประทานอาหารแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และพระราชทานชื่อว่า Never Mind the H.M. Blues เป็นการตอบปริศนาคำทายที่ว่า H.M. แปลว่าอะไร

มาร์ชราชวัลลภ
เราทหารราชวัลลภ       รักษาองค์พระมหากษัตริย์สูงส่ง
 ล้วนแต่องอาจแข็งแรง   เราทุกคนบูชากล้าหาญ
วินับเทิดเกียรติชาติไว้ทุกแห่ง ใจดุจเหล็กเพชรแข็งแกร่งมิกลัวใคร
เราเป็นกองทหารประวัติการณ์   ก่อเกิดกำเนิดกองทัพบกชาติไทย
เราทุกคนภูมิใจ        ได้รับไว้วางพระราชหฤทัย
พิทักษ์สมเด็จเจ้าไทย       ตลอดในพระวงศ์จักรีฯ
เราทหารราชวัลลภ      รักษาองค์ฯ จะถวายสัตย์ซื่อตรง
องค์ราชาราชินี            ถ้าแม้นมีภัยพาลอวดหาญ    
 มิเกรงดูหมิ่นข่มเหงย่ำยี     เราจะถวายชีวีมิหวาดหวั่น   
 จะลุยเลือดสู้ตายจะเอากายป้องกัน  เป็นเกราะทองรบประจัญศัตรู
ฝากฝีมือปรากฏ             เกียรติยศฟุ้งเฟื่อง  
 กระเดื่องกองทัพบกไทย ไว้นามเชิดชูราชวัลลภคู่ปฐพี
 

เพลงพระราชนิพนธ์ “มาร์ชราชวัลลภ”เพลงพระราชนิพนธ์ “มาร์ชราชวัลลภ” เป็นเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อพ.ศ. 2496 และโปรดเกล้าฯ ให้พันตรีศรีโพธิ์ ทศนุต ประพันธ์คำร้อง และพระราชทานแก่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2496 เป็นเพลงทำนองปลุกใจ ให้รักชาติ ลักษณะเดียวกันกับที่พระราชทานแก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความ “รู้รักสามัคคี” ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น