พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เคารพรักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทย เช่นเดียวกับพระมหาบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ แห่งราชวงศ์จักรีที่ปกครองประเทศชาติให้ผ่านพ้นผองภัย นานาประการมากว่า 200 ปี ในช่วงปีพุทธศักราช 2503 บรรดาประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา มีปัญหาการปกครองภายในเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ ลัทธิการเมืองใหม่ที่นำมาซึ่งความขัดแย้งรุนแรง แต่ไทยเรารอดปลอดภัยมาได้เพราะพระองค์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทุกคน โครงการงานในพระราชดำริมากมายที่พระองค์ทรงริเริ่ม ได้สร้างประโยชน์สุขให้แก่พสกนิกร ทั่วราชอาณาจักร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของนานาประเทศ ถึงกับมีผู้กล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงแต่งานเป็นกิจวัตรหลัก เป็นที่น่าพิศวงยิ่งนัก แม้พระองค์จะทรงมีภารกิจต่างๆ มากมาย แต่พระองค์ก็ยังทรงมีเวลาสร้างสรรค์พระราชนิพนธ์ทางดนตรี ที่มีความไพเราะไว้มาก ซึ่งยังติดตรึงใจปวงชนชาวไทยตลอดมา
         พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
"ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สหรือไม่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในสังคมทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา สำหรับข้าพเจ้า
ดนตรีคือสิ่งประณีต ที่งดงามและทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะดนตรีแต่ละประเภทมีความเหมาะสม
ตามแต่โอกาสและ อารมณ์ที่ต่างกันไป"

เพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” “CANDLELIGHT BLUES”

เป็นเพลงแรกที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อเดือนเมษายน 2489 ขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระอนุชิราช เป็นเพลงในจังหวะบลูส์ และได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงประพันธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ ให้นำออกบรรเลง ซึ่งศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ประเสริฐ ณ นคร เล่าว่า“สมเด็จพระอนุชาฯ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ) ตรัสว่า เพลง “แสงเทียน” นี่เศร้าเกินไปในตอนท้ายๆ คล้ายๆ ว่า ‘ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา’ ท่านจักรพันธ์ฯ ก็กราบบังคมทูลว่าเนื่องจากเป็นเพลงบลูส์ เพลงบลูส์ของอเมริกันนิโกรก็เศร้าๆ อย่างนี้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ถึงแม้จะเศร้าก็จริง แต่ตอนท้ายของเพลงนั้นเขาต้องมีปรัชญาชีวิต ว่าจะต่อสู้ต่อไป ยังมีความหวังอยู่”เพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” ออกบรรเลงช้ากว่าเพลงที่สองและสาม คือ เพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น” และ “สายฝน” ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้วงสุนทราภรณ์นำเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” ออกบรรเลง มีนายเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ขับร้อง และในพ.ศ. 2496 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ประพันธ์คำร้องเป็นภาษาอังกฤษ

            เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ ใน พ.ศ. 2489ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำต้องสมบูรณ์ให้นายเอื้อ สุนทรสนาน นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำออกบรรเลงสู่ประชาชน เป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที

แสงเทียน แก้วตาขวัญใจ ไกลกังวล เตือนใจ
 ยามเย็น เมื่อโสมส่อง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ไร้จันทร
สายลม ยิ้มสู้ แสงเดือน ไร้เดือน
ใกล้รุ่ง พรปีใหม่ ฝัน เกาะในฝัน
ชะตาชีวิต รักคืนเรือน เพลินภูพิงค์ แว่ว
ดวงใจกับความรัก ธงไชยเฉลิมพล ภิรมย์รัก เกษตรศาสตร์
อาทิตย์อับแสง ยามค่ำ แผ่นดินของเรา ความฝันอันสูงสุด
ทวาพาคู่ขวัญ ค่ำแล้ว พระมหามงคล เราสู้
มหาจุฬาลงกรณ์ มาร์ชราชวัลลภ ยูงทอง รัก
คำหวาน ลมหนาว ในดวงใจนิรันดร์ สายลม