|
|
|
|
|
และที่สำคัญยังทำให้ผู้อ่านได้รับทราบพระจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและ
ความสัมพัน์ใกล้ชิดระหว่างพระองค์กับสมเด็จฯพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระราชอนุชาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตีพิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ พระราชทานในการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน
พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙
|
- พระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์” ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษแก่หนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชนิพนธ์รูปแบบบันทึกประจำวัน ตั้งแต่เสด็จฯ จากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงก่อนเดินทางจากเมืองไทยไปยังตำหนักวิลลาวัฒนา คือ ระหว่างวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งพระราชนิพนธ์นี้ ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ขณะจากเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความผูกพันและความห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์ ทรงใช้ภาษาได้อย่างเห็นภาพและสะเทือนอารมณ์ เป็นที่จับใจไม่ว่าจะอ่านพระราชนิพนธ์นี้สักกี่ครั้ง ดังเช่น พระราชบันทึกในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ตอนหนึ่ง
“เราจะต้องจากไปในวันพรุ่งนี้แล้ว…เราต้องทูลลาให้เสร็จในวันนี้แลไม่ใช่ พรุ่งนี้ตามที่กะกันไว้ตามเดิมเพื่อจะรีบไม่ให้ชักช้า เพราะพรุ่งนี้จะ ได้มีเวลาแล่นรถช้า ๆ ให้ราษฎรเห็นหน้ากันโดยทั่วถึง เมื่อออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณมายังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ผู้คนอะไรช่างมากมายเช่นนั้นเมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาถามว่า จะอนุญาตให้ประชาชนเข้ามาหรือไม่ในขณะที่ถวายบังคมพระบรมศพ ตอบเขาว่า “ให้เข้ามาสิ” เพราะเหตุว่าวันอาทิตย์ เป็นวันสำหรับประชาชน เป็นวันของเขาจะไปห้ามเสียกระไรได้ และยิ่งกว่านั้นยังเป็น วันสุดท้ายก่อน ที่เราจะจากบ้านเมืองไปด้วย ข้าพเจ้าอยากเห็นราษฎรเพราะกว่าจะได้กลับ มาเห็นเช่นนี้ก็คงอีกนานมาก….”
และอีกตอนหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจคนไทยมาจนทุกวันนี้ ทรงเล่าถึงวันที่เสด็จ พระราชดำเนินออกจากประเทศไทยว่า
“ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใคร คนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่าถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้…”
- พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แห่งวัดราชผาติการาม
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เรื่องพระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นคว้าเรื่องพระมหาชนเพิ่มเติมในพระไตรปิฏก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และแปลเป็นภาษาสันสกฤตอีกภาษาหนึ่ง ก่อนจะแปลเป็นฉบับการ์ตูน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถพิจารณาหาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลได้
พระมหาชนก เป็นพระราชนิพนธ์เล่มล่าสุดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นของขวัญพระราชทาน แก่ประชาชนเนื่องในโอกาสกาญจนาภิเษก โดยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นจากมหาชนกชาดกในนิบาตชาดกในคัมภีร์พระไตรปิฎก มหาชนกเป็นชาดกลำดับที่ ๒ ในทศชาติ หรือสิบพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า บารมีสำคัญที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญในพระชาตินี้คือ วิริยะบารมี หมายถึงเป็นผู้กล้าหาญบากบั่นและมีความเพียร
เนื้อเรื่องของพระราชนิพนธ์มหาชนกแบ่งเป็น ๓๗ ตอน ดำเนินตามเรื่องในนิบาตชาดก แต่ตอนท้ายเรื่องต่างไป คือ พระมหาชนกมิได้เสด็จออกผนวช แต่ทรงดำริจะสร้างความเจริญแก่เมืองมิถิลา และทรงเพิ่มเติมเรื่องการปลูกมะม่วง ซึ่งทรงแทรกความรู้เรื่องการเกษตรแผนใหม่ลงไปด้วยอย่างเหมาะสม สารัตถะของพระราชนิพนธ์เรื่องมหาชนก คือ การแสวงหาปัญญา และการบำเพ็ญความเพียร สารัตถะข้อแรกจะพิจารณาได้จากพระราชปรารภในการทรงพระราชนิพนธ์ ที่ทรงชี้ให้เห็นว่าคนที่เขลาเบาปัญญากอยู่ในความโลภความหลงย่อมมองไม่เห็นประโยชน์ของสิ่งใดแม้แต่ผลประโยชน์ของตนเอง และพิจารณาได้จากเนื้อเรื่องของพระราชนิพนธ์
นอกจากคุณค่าด้านเนื้อหาแล้ว พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างสูง พระองค์ทรงเรียบเรียงเรื่องพระมหาชนกด้วยสำนวนภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายทรงใช้ ศัพท์สามัญที่อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีแทนคำบาลีสันสกฤตที่ต้องแปลความหมาย ทรงใช้ประโยคง่าย ไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังทรงอธิบายคำโบราณที่ผู้อ่านสมัยใหม่ไม่เข้าใจหรือเข้าใจได้ยาก ไว้เป็นข้อความในวงเล็บ ทรงยกคำภาษาบาลีบ้างบางคำ แต่ทรงแปลความและอธิบายคำบางคำเพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก เป็น ๒ ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละตอนเริ่มต้นด้วยบทภาษาไทยแล้วจึงเป็นบทแปลภาษาอังกฤษ การที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็น ๒ ภาษา ทำให้พระราชนิพนธ์ของพระองค์เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้อ่านทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาในเชิงเปรียบเทียบด้วย ซึ่งเป็นไปตามกระแสพระราชดำริที่พระราชทานแก่ผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ด้วย ดังที่นายชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“หนังสือเล่มนี้มีพระราชพระสงค์ให้เกี่ยวข้องกับตำราสอนภาษา จึงต้องมี ๒ ภาษา ถ้าเทียบจะตรงกันพอสมควร
ใช้เป็น text book ได้ คนที่รู้ ภาษาหนึ่งก็เทียบกับอีกภาษาหนึ่งได้ แต่ไม่ใช้ใช้ภาษาที่ง่าย เพราะยากพอสม ควร และพิสดารพอใช้ อย่างคำว่า “เดินประทักษิณ” ภาษาอังกฤษที่ทรงใช้ ก็ทรงคิดเอง ทรงใช้ว่า dexterambulation ในภาษาอังกฤษเดิมไม่มี ทรงคิดขึ้นจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษและละติน”
พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกมิใช่เป็นหนังสือสำหรับอ่านเท่านั้น
พระราบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เป็นหนังสือภาพด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จิตรกร ๘ คนวาดภาพประกอบรวม ๓๖ ภาพ และมีแผนที่ฝีพระหัตถ์อีก ๔ ภาพ แสดงเส้นทางที่พระมหาชนกเดินทางจากเมืองจัมปาไปยังสุวรรณภูมิ แผนที่จะแสดงที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ ตามที่ปรากฏเป็นฉากของเรื่อง แผนที่ทั้ง ๔ ภาพนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า
“อีกอย่างที่ทำก็คือวาดเป็นรูปต่าง ๆ ใช้วาดภาพ ท่านไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไรใหม่ ๆ ทำอย่างไรก็ไม่รู้ ใช้ของโบราณนี่แหละ แล้วเอามาทำเอง อย่างที่ทรงเขียนเรื่องพระมหาชนกนี่ ท่านวาดได้ภาพพระมหาชนกว่ายน้ำ แล้วมีนางมณีเมขลาเหาะมา อะไรนี่วาดได้แล้วก็วาด วาดแผนที่ก็ไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไร เขียนวาดเป็นแผนที่อินเดียแล้วท่านก็กะเอาว่าที่ในชาดกพูดไว้อย่างนี้ ในสมัยใหม่นี้ plot ว่ามันควรจะอยู่ตรงไหน ว่ายน้ำจากตรงไหนไปถึงไหน คนโน้นคนนี้ในเรื่องเดินทางจากไหนไปที่ไหน ขีดในแผนที่สมัยใหม่ว่ามันควรจะอยู่ที่ไหน แล้วท่านก็เอาแผนที่อุตุนิยมมา แล้วก็เอามาสันนิษฐานว่าอากาศในวันนั้นควรจะเป็นอย่างไร เทียบกับตอนนั้น ตอนที่ดู พระอาทิตย์ พระจันทร์ต่าง ๆ position มันคล้ายกันตรงไหน อะไรต่าง ๆ ท่านก็เอา มาเทียบจากเรื่องชาดกมาเป็นเรื่องสมัยใหม่ ท่านก็ใช้ลงในเครื่องพวกนี้”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้หลักการทำแผนที่ พร้อมทั้งใช้ความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาและโหราศาสตร์มาผสาน เข้ากับเรื่องราว ของนิทานชาดกได้อย่างกลมกลืน ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเกิดความรู้สึกจริงจังไปกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในนิทาน พระราชนิพนธ์เรื่องนี้แสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการล้ำเลิศของ พระองค์ท่านที่นำเรื่องเก่าโบราณมานำเสนอในมุมมองใหม่ที่ให้ข้อคิดอันเป็น ประโยชน์แก่คนร่วมสมัย พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์ที่ทรงโปรดปรานมาก เรื่องหนึ่ง ดังพระราชดำรัสแก่คณะศิลปินและคณะสื่อมวลชน ที่เข้าฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ว่า
“หนังสือเล่มนี้รับรองได้ว่าเป็นหนังสือที่ไม่มีที่เทียม ต้องอวดเสียหน่อยว่าไม่มีที่เทียม ท่านผู้ที่เป็นศิลปิน ผู้ที่เป็นกรรมการและผู้ที่สนับสนุน ย่อมจะทราบดีว่างานที่เราทำนั้นคุ้มแค่ไหน… ต้องขอบใจท่านทั้งหลายทุกคนที่มาชุมนุมกันในที่นี้ เพื่อที่จะรับรู้ว่าหนังสือนี้มีขึ้นแล้ว ที่ต้องขอบใจเพราะว่าหนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้าเอง เป็นสิ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ…
เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และเป็นประโยชน์กับประชาชนทั้งไทยและเทศ….”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกไปจัดทำเป็นหนังสือการ์ตูนเพื่อยังประโยชน์แก่เด็กและเยาวชนอีก ด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่จะใช้งานวรรณศิลป์เป็นเครื่องมือในการ ปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีแก่เด็กและเยาวชนไทย
|
|
- พระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง
พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ได้แฝงข้อคิดคติธรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณของทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
สุนัขทรงเลี้ยง เป็นสุนัขที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเลี้ยงไว้เพื่อพระเกษมสำราญของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..กับคุณๆ ๔ ขา ภายในบริเวณพระราชวัง พระตำหนักสวนจิตรลดาฯ นอกจากจะเป็นที่ก่อกำเนิดโครงการในพระราชดำริซึ่งเอื้อ อำนวยประโยชน์สุข ให้กับคนไทยทั้งประเทศอย่างมากมายแล้ว พระราชวังแห่งนี้ยังเป็นที่พำนักของบรรดา "คุณ" ทั้ง ๓๔ สุนัข ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความเกษมสำราญให้กับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องราวของแต่ละ "คุณ" ล้วนแต่ช่วยให้ทราบถึงน้ำพระทัยเมตตาและพระอารมณ์ขัน รวมทั้งพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยให้เด่นชัดขึ้น
|
|
งานแปล
- ติโต
ผลงานแปลชิ้นแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงแปลจากหนังสือ Tito ของ Phyllis Auty ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก
หนังสือติโตนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม และวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๓๗
พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโต เป็นเรื่องชีวิตของ “ติโต” หรือ นายโยซิบ โบรซ (Josif Broz) ผู้นำยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นประเทศ ที่ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชนเผ่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เขาได้อุทิศตนต่อสู้กอบกู้ยูโกสลาเวียให้พ้นวิกฤตการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ ๒
สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นยามที่ประเทศชาติต้องพบกับภาวะวิกฤติ เพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญของประเทศไว้
ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของคนทุกชาติในยูโกสลาเวียให้เป็น ประธานาธิบดี ชื่อเสียงของ ติโต ขจรขจายไปทั่วโลก เขาเป็นแบบฉบับของผู้ที่กระทำความดีเพื่อชาติ
พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโต จึงเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าสำหรับประชาชนและเยาวชนจะได้ศึกษาชีวิตของ ติโต
ไว้เป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์คุณความดีต่อไป
พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโต นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งฯ จัดพิมพ์จำหน่าย นำรายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนาฯ ระหว่างวันที่ ๕-๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๗ ได้พิมพ์แล้วรวม ๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม
พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ
|
|
- เศรษฐศาสตร์ตามนัยของพระพุทธศาสนา
บทที่ ๔ เล็กดีรสโต แปลจาก Small is Beautiful โดย E.F.Schumacher หน้า ๕๓-๖๓
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
|
|
เป็นงานแปลชิ้นที่สองของพระองค์ท่าน โดยทรงแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson ทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ และแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยใช้เวลาในการแปลรวมทั้งสิ้น ๒ ปี ๙ เดือน ๓ วัน แต่ได้นำมาจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายก่อนหนังสือติโต ซึ่งทรงแปลเป็นเล่มแรก คือจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเมือง การทหาร และประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับสงครามความลับระหว่าง ค.ศ.๑๙๓๙-๑๙๔๕ เป็นเรื่องจริงที่นำมาเปิดเผยเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของผู้ที่เสี่ยงชีวิต ปฏิบัติงานลับเพื่อประเทศชาติและใช้เป็นเอกสารสำหรับผู้ปฏิบัติงานรุ่นหลัง ได้ใช้ศึกษา กับเป็นการเสนอข้อมูลเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามนำไปบิดเบือน อันจะกระทบกระเทือนสัมพันธไมตรีระหว่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา กับอังกฤษ
พระราชนิพนธ์แปลเรื่องนี้ มีความยาวถึงกว่า ๖๐๐ หน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงแปลคำต่อคำ แต่ทรงเก็บความไว้ครบถ้วน ทรงใช้สำนวนภาษาที่ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบไทยๆ ที่สอดคล้องกับสาระเรื่อง เช่นคำว่า My Lord! ทรงแปลว่า “แม่เจ้าโว้ย!” เป็นต้น และบางตอนที่เป็นบทร้อยกรอง ก็ทรงแปลเป็นบทร้อยกรอง ดังจะขออัญเชิญมาเล็กน้อย
“Who is the happy warrior... That every man in arms would wish to be?”
ทรงแปลว่า “นักรบใดใจมั่นพลันเริงร่า ถ้วนทหารปรารถนาเป็นเช่นเขา...”
พระ ราชนิพนธ์เรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์จำหน่ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ปรากฏว่าพิมพ์แล้วถึง ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม นับว่าเป็นสถิติที่สูงมากในวงการพิมพ์ของไทย
|
|
เอกสารอ้างอิง
พระราชอัจฉริยภาพด้านภาษาและหนังสือ http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%
9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%
B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%
E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%
B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%
99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%
E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD
พระราชอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรมและการแปล ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
http://www.raorakprajaoyuhua.com/bio/gen11.htm
|
|
|