๗. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ปัญหา ทรงมอง
ปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ ต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ คือ การ
แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

๘. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเคารพความคิดที่แตกต่าง
ในทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปในพื้นที่ต่างๆ ทรงทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ทุกครั้ง โดยวิธีการของพระองค์
นั้นเป็นวิธีที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา โดยจะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่ได้รับจากโครงการ
พัฒนากับพสกนิกรที่ มาเฝ้าฯ ล้อมรอบอยู่ หลังจากนั้นจะทรงถามถึงความต้องการของประชาชน
ความสมัครใจและให้ตกลงกันเองในกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์และกลุ่มที่จะต้อง เสียสละในขณะนั้นเลย
 พร้อมทั้งทรงการแผนที่เพื่อตรวจสอบถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงของสภาพ ภูมิประเทศ และหลังจากนั้น
ก็จะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองให้มารับทราบและ ดำเนินการในขั้นต้น ก่อนที่จะ
พระราชทานให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเชิงบริหาร และวิชาการต่อไปจน
เสร็จสิ้นโครงการ "...มีคนบอกว่าโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ ข้อนี้เป็นความคิดที่ผิด
หรือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ เมืองไทยไม่เจริญ..."   

   
          ที่มา : หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.2552,25 

๙. ทำตามลำดับขั้น
ในการทรงงาน พระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข  เมื่อมีร่างกาย
สมบูรณ์แล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธรณูปโภคขั้นพื้นฐาน
และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
 รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎร
สามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด                                                                                         

๑๐. องค์รวม (Holistic)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีวิธีคิดเป็นองค์รวม หรือมองอย่างครบวงจร ในการพระราชทาน
พระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไข
อย่างเชื่อมโยง เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางในการ
ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมอย่างเป็นองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยประมาณ
๑๐ - ๑๕ ไร่ เพื่อการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการ
ประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการทำเกษตรแล้วส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น นำไปสู่การเรียนรู้วิธีการ
จัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะ
ออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจร

 
  
   
                                     MAIN