๑๑.ไม่ติดตำรา
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและ
รอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน คือ ไม่ติดตำรา
ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

 
 
  
 
 
ที่มา : หลักการทรงงาน https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%
 
 

๑๒. ทำให้ง่าย
     ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้การคิดค้น ดัดแปลง
ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริดำเนินไปได้โดยง่าย และสอดคล้อง
กับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวม  ตลอดจนสภาพทางสังคมของชุมชนนั้นๆ
ทรงโปรดที่จะทำให้สิ่งที่ยากกลายเป็นสิ่งที่ง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้กฎธรรมชาติเป็น
แนวทางนั่นเอง แต่การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายนั้นเป็นของยาก ฉะนั้น ทำให้ง่ายจึง
เป็นหลักคิดสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด
ำริ

 
 

๑๓. ประโยชน์ส่วนรวม
 การปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ คนที่ให้เพื่อส่วนรวม
นั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียวเป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้โดยต้อง
คิดให้ดี ให้ลึกซึ้ง อย่างเช่นโครงการเขื่อนป่าสักฯ เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เป็น
ตัวอย่างที่ดี ที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและไม่ได้ละเลยคนส่วนน้อยที่ต้องเสียสละเพื่อ ส่วนรวม
เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์อย่างมากมาย คนส่วนรวมต้องช่วยคนกลุ่มเล็กที่เสียสละอย่างเต็มที่
 "...การปฏิบัติงานทุกอย่างของข้าราชการ มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและ
ประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ข้าราชการทุกคนจะต้องทำหน้าที่ทุกๆประการให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เพื่อผลการปฏิบัติราชการ
ทุกอย่างจักได้บรรลุความสำเร็จอย่างสูงและบังเกิด ประโยชน์อย่างดีที่สุดแก่ตนเอง แก่
หน้าที่และแก่แผ่นดิน...
"

 
 

๑๔. บริการรวมที่จุดเดียว
การบริการรวมที่จุดเดียว เป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ที่เกิดขึ้นป็นครั้งแรกในระบบบริหาร
ราชการแผ่นดินของประเทศไทย  โดยทรงใช้ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นแบบ
ในการบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่มาขอใช้บริการ จะประหยัดเวลาและ
ค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยราชการต่างๆมาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว

 
 

๑๕. ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ทรงเข้าใจธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ
 หากเราต้องการแก้ไขปัญหาธรรมชาติ จะต้องธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม
ได้ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ รวมทั้งการปลูกป่าในใจคน เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดินด้วยความ
ต้องการอยู่รอดของมนุษย์ ทำให้ต้องมีการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์
ของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมปัญหาความไม่สมดุลจึงเกิดขึ้น ดังนั้นการจะฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติให้คืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน

                                                                                

 
   
   
                                        MAIN