เพลงกล่อมเด็กภาคเหนือ
สำหรับภาคเหนือ หรือดินแดนล้านนาอันสงบสวยงาม มีเพลงกล่อมลูกสืบทอดเป็นลักษณะแบบแผนเฉพาะของตนเองมาช้านาน อาจารย์สิงฆะ วรรณไสย แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือว่า "คำร่ำ" ซึ่งจัดเป็นลำนำชนิดหนึ่ง หมายถึงการร่ำพรรณนา มีเสียงไพเราะ สูงต่ำตามสียงวรรณยุกต์ของสำเนียงภาคเหนือ นิยมใช้แต่งในการร่ำบอกไฟขึ้น ร่ำสร้างวิหาร ร่ำสร้างเจดีย์ ร่ำสร่างถนน ขึ้นดอยสุเทพ และแตงเป็นคำกล่อมเด็ก
คำกล่อมเด็กนี้ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในภาคเหนือสมัยก่อนมักจะใช้ขับกล่อมสอนลูกหลานขณะอุ้มเด็กนั่งชิงช้าแกว่งไกวช้าๆ จนเด็กง่วงนอน จึงอุ้มไปวางบนที่นอนหรือในเปลแล้วแห่กล่อมต่อจนเด็กหลับสนิท คำกล่อมเด็กนี้จึงเรียนว่า "สิกจุ้งจาโหน" ตามเสียงที่ใช้ขึ้นต้นเพลง
ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือนอกจากจะขึ้นต้นด้วยคำว่าสิกจุ้งจาโหนแล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูก ทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไปช้าๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็น ตามถ้อยคำที่สรรมาเพื่อสั่งสอนพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย จนถึงคำปลอบ คำขู่ ขณะยังไม่ยอมหลับ ถ้อยคำต่างๆ ในเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ของคนในภาคเหนือในอดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับนอกเหนือจากความอบอุ่นใจของลูกที่เป็นประโยชน์โดยตรงของเพลงกล่อมเด็ก
ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กของภาคเหนือ