ความหมายของเรือกอและ
                สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  เล่มที่  3 (2505 : 1448)  ได้ให้ความหมายไว้ว่ากุแหละหรือกอและ  เป็นคำภาษามาลายู  ใช้เรียกเรือประมงขนาดเล็กหรือขนาดกลาง  แต่บางโอกาสก็นำมาเรียกเรือขนาดใหญ่ได้เหมือนกัน  เรือประมงของชาวมาลายูโดยมากเป็นเรือใบ  อาศัยกำลังลมเมื่อจะเพิ่มความเร็ว  หรือความจำเป็น  จะทดแทนความล่าช้าที่ขาดลม  ก็จะใช้แจวและพายเป็นเครื่องช่วย
                พจนานุกรมแวบสเตอร์  อธิบายว่า  Kolek / Ko, lek / n-s Malay : a Malayan canoe often rigged with a rectangular sail.
                กอและเป็นคำเขียนเลียนแบบเสียงในภาษายาวี  บางคนอาจเขียนว่า  โกและ  หรือกอและขึ้นอยู่กับเสียงผู้พูด  ภาษาอังกฤษใช้  Kolek  หรือ Koleh  ความหมายของคำว่า  กอและ  อดีตดาโตะปราสาท  และดาโตะสินดารมัน  แห่งจังหวัดนราธิวาส  ได้ให้ความหมายว่า  หมายถึง  พลิกไปพลิกมา  ตะแคง  โคลงแคลง  ลักษณะที่โคลง ๆ  ชาวมุสลิมใช้คำว่า  “กอและ”  ผสมกับคำอื่นอีกสองคำคือ  ผสมกับคำว่าปาระฮู  เป็นปาระฮูกอและ  ซึ่งหมายถึงเรือกอและนั้นเอง  (สุมนัส  จิตพิทักษ์  2522 : 99-100)
                พอสรุปได้ว่า  เรือกอและ  หมายถึงเรือประมงที่ใช้ใบในการขับเคลื่อนมีรูปพรรณสัณฐานเพียวลม  ไม่ต้านลม  แต่เป็นเรือที่อยู่ในอาการโคลงเคลงเมื่อลงในน้ำ  เพราะมีลักษณะของท้องเรือที่อยู่ใต้น้ำกลม  และกาบเรือจะผายออก  จึงล่มยาก  เมื่อถูกคลื่นลมจะโคลงเคลงเท่านั้น

 
 
 
                                               ที่มา : เรือกอและ ราชนีแห่งแหลมมาลายู http://www.klongdigital.com/webboard3/

เรือกอและเดิมเป็นเรือที่ชาวพื้นเมืองปัตตานีใช้เป็นพาหนะในการเดินทางและทำการประมงยามว่างจากการประกอบอาชีพในยามคลื่นลมสงบ และเวลามีงานนักขัตฤกษ์ของท้องถิ่นชาวเมืองปัตตานี จะนำเรือกอและเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ โดยนำมาจัดแข่งขันพายเรือ เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในด้านความเร็ว
 ที่จังหวัดปัตตานีในสมัยโบราณ มีหมู่บ้านหนึ่งเป็นหมู่บ้านที่ต่อเรือกอและและมีเรือกอและมากที่สุด จนชาวบ้านทุกคนเรียกว่าหมู่บ้านกำปงกอและ ซึ่งหมายถึงหมู่บ้านเรือกอและ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้าน “สะบารัง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กดาอาเนาะญอ” แปลว่า “ตลาดมะพร้าว” ซึ่งเป็นชื่อที่ได้ใหม่เมื่อภายหลังจากความนิยมในการต่อเรือกอและลดน้อยลง ทั้งนี้เพราะในหมู่บ้านดังกล่าวอยู่ติดแม่น้ำปัตตานีจึงมีต้นมะพร้าวมากพอๆกับมีเรือที่จอดอยู่ตามชายฝั่งตลอดแนวแม่น้ำ
  สมัยก่อนที่จังหวัดปัตตานีมีการแข่งขันเรือกอและในวันฮารีรายอ และวันรายอฮัจยี เป็นประจำทุกปี
 ต่อมาความนิยมในการต่อเรือกอและขยายไปเกือบทุกจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเลนับตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณอำเภอหัวไทร เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชเรื่อลงมายังอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ของจังหวัดปัตตานี ตลอดอีกหลายอำเภอในจังหวัดนราธิวาส (มัลลิกา คณานุรักษ์. 2544, 71 )

  เรือกอและเป็นเรือประมงที่ใช้ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อ ด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงาม นิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับลำเรือ เรือกอและมี ๒ แบบคือ แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว ขนาดของเรือแบ่งเป็น ๔ ขนาด โดยยึดความยาวของลำเรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ ขนาดใหญ่ยาว ๒๕ ศอก ขนาดกลางยาว ๒๒ ศอก ขนาดเล็กยาว ๒๐ ศอก และขนาดเล็กมากเรียกว่า "ลูกเรือกอและ" ยาว ๖ ศอกโดยประมาณ และด้านนอกซึ่งค่อนขึ้นไปทางขอบเรือ ทำเป็นขอบนูนออกมาข้างนอก ลักษณะเป็นกันชนของเรือยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "ปาแปทูวอ" ที่ตอนล่างของปาแปทูวอทำรอยแซะเนื้อไม้ด้วยกบให้เป็นแนวยาวตลอดลำเรือเรียก ว่า "กอมา" เรือทั้งลำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ลูแว" ส่วนท้ายเรียกว่า "บูเระแต" ถ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ปาลอ" ส่วนกลาง (ลำเรือ) เรียกว่า "ตือเราะ" ส่วนท้ายเรียกว่า "ปูงง"
ประโยชน์
เรือ กอและส่วนใหญ่ใช้ในการประมง โดยนำออกไปทำการประมงในทะเลและนิยมทำเป็นพวก ๆ พวกละ ๕-๖ ลำ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับแข่งขันโดยใช้ฝีพายหรือใช้ใบก็ได้ทุกครั้งที่จะออก เรือก่อนขึ้นเรือชาวประมงจะให้ความเคารพเรือกอและของตนโดยการถอดรองเท้าทุก ครั้ง และเมื่อเรือจอดอยู่บนฝั่งก็ห้ามผ่านใกล้ ๆ หรือเล่นบริเวณหัวเรือ ไม่พูดจาเชิงอวดดี หรือพูดในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เพราะเชื่อว่ามีพระเจ้าหรือ
สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองเรือสิงสถิตอยู่ที่หัวเรือบริเวณ "จาปิ้ง" นับได้ว่าเรือกอและเป็นเรือในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งใช้ในการประมงทางทะเลของชาวประมงมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ นับว่าเป็นเรือที่แปลกตาและหาดูได้ยากในจังหวัดอื่นๆ
( เรือกอและ http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1604.0 )

ที่มา : เรือกอและ http://www.siamsouth.com/smf/index.
<<< PREVIOUS     NEXT >>>