ประเภทของเรือกอและ
                โดยพิจารณาจากลักษณะของหัวเรือกอและอาจกล่าวได้ว่า  เรือกอและมี  2  ประเทภ  ด้วยกัน  คือ  แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว  แต่ถ้าพิจารณาจากความเป็นเรือประมง  เรือกอและที่เป็นเรือประมงมี  6   ประเภท  ดังนี้คือ
                1.  กุแหละบัวตันบะรัต  มีการต่อเรือประเภทนี้ในประเทศมาลายู  ซึ่งได้แบบมาจากปัตตานี  ประเทศไทย  มีลักษณะเด่นคือ  หัวเรือและท้ายเรือเรียวจนเกือบแหลม  บรรทุกลูกเรือได้ประมาณ  5 – 7  คน
                2.  กุแหละ  หรือ  ปาราหุกุแหละมีลักษณะเด่นคือ  ค่อนข้างกว้าง  ท้องมน  และมีหัวท้ายโค้งงอนขึ้นดูสวยงามแล่นได้ไม่เร็ว  แต่คล่องตัวเป็นเรือที่ออกทะเลที่ดีมาก  มีความคล่องตัวในการลากขึ้นบนหาดหรือเข็นลงทะเล  เรือนี้บางทีเรียกว่า  กุแหละลิจัง  บรรทุกลูกเรือได้ประมาณ  5 – 10  คน  พบทั่วไปตามทะเลฝั่งตะวันออก
                3.  ดอ – กอล
                4.  กุแหละ  มะเซียม  หรือโจกอง  เป็นเรือไทย  ใช้จับสัตว์น้ำด้วยเบ็ด  บรรทุกลูกเรือได้  2-3  คน  พบจำนวนเล็กน้อยตามปากแม่น้ำกลันตันทางเหนือ
                 5. ยองกอง เป็นเรือประมงขนาดเล็ก ใช้สำหรับทำประมงชายฝั่ง มีการทาสีเพื่อความสวยงาม แต่เป็นเพียงแถบสีเรียบๆไม่มีการวาดลวดลายจิตรกรรมใดๆทั้งสิ้น
                 6. ปาตะกือระ เป็นเรือประมงที่มีวิธีการต่อ การวาดลวดลายจิตรกรรมมีส่วนตกแต่ง และอุปกรณ์ต่างๆในเรือเหมือนเรือกอและดั้งเดิม มีลักษณะที่เด่นคือมีหัวเรือเชิดสูงเหมือนเรือกอและดั้งเดิม แต่มีท้ายตัด
( ปาตะกือระ ) และใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ในขณะที่เรือกอและดั้งเดิมกำลังจะหมดความนิยมอย่างสิ้นเชิง เรือกอและปาตะกือระ จึงเป็นทายาทที่ทรงคุณค่าเช่นเรือกอและต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน    

     ที่มา : เรือกอและ ราชนีแห่งแหลมมาลายู http://www.klongdigital.com/webboard3/
ที่มา : ลำเรือแห่งเมืองนราฯ   http://www.marinerthai.com/sara/pics/kor010.jpg
<<< PREVIOUS    NEXT >>>