|
---|
ลายราชวัตถ์ การทอผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเก็บตะกอ โดยช่างทอผ้าจะเป็นผู้จัดเส้นด้ายยืนให้เป็นกลุ่มตามลักษณะ ของลาย แล้วเริ่มค้นด้าย สอดฟันหวี ขณะทอผ้าก็จะเก็บตะกอ และพุ่งด้ายสีต่าง ๆ ตามกำหนดของลักษณะลายแต่ละลาย ซึ่งผ้าเกาะยอได้รับการยอมรับว่าเป็นผ้าที่มีลายต่าง ๆ สวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าเกาะยอบางลายช่างทอจะคิดหา วิธีสอดเส้นด้ายสีต่าง ๆ สลับกันไป บางวิธีก็จับผูกมัดกันเป็นช่อง ๆ หรืออาจยกเส้นด้ายที่ทอเป็นระยะ ๆ ทำให้เกิดเป็นลายผ้า ที่สวยงามได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ช่างทอหรือผู้คิดค้นลายจะต้องจดจำลายที่ตนคิดประดิษฐ์ขึ้นมาและ ถ่ายทอดวิธีการทอให้ช่าง ทอให้ได้แม้ว่าแต่ละลายจะมีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งแสดงถึงศิลปะแห่งภูมิปัญญาและความสามารถของชาวเกาะยออย่างแท้จริง ในสมัยก่อนชาวบ้านเกาะยอทอผ้าโดยไม่ทราบชื่อลาย แต่อาศัยเรียกกันง่ายๆและจดจำต่อกันมาตามบรรพบุรุษ และตั้งชื่อ ตามผู้ที่คิดลายขึ้นมา เช่น ลายโกเถี้ยม บางครั้งมีการทอดัดแปลงเป็นลวดลายที่แปลกออกไป และเรียกชื่อลายตามลักษณะตาม ธรรมชาติที่ได้พบเห็น เช่น ลายที่เกี่ยวกับพรรณไม้ ได้แก่ ดอกรสสุคนธ์ ดอกพิกุล ลายดอกขี้ไก่หรือดอกผกากรอง บ้างก็เรียกตาม ลวดลายของขนนก ได้แก่ ลายคอนกเขา ซึ่งช่างทอได้ทอเลียนแบบขนนกที่มีความสวยงาม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลายก้านแย่ง และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จประทับ ณ จังหวัดสงขลา ชาวบ้านได้นำผ้าเกาะยอลายก้านแย่ง ขึ้นถวาย ซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงพระราชทานนามว่า ลายราชวัตถ์ ซึ่งเป็นลายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน |
ลายผ้าเกาะยอจำแนกได้ 2 แบบ คือ ตัวอย่างลายผ้า
|
2. ลายผ้าเกาะยอแบบปัจจุบัน เช่น ลายลูกโซ่ ลายสี่เหลี่ยม ลายดอกมุก ลายดอกจันทน์ ลายลูกหวาย ลายบุหงา
|
ลักษณะพิเศษของผ้าทอเกาะยอ |
ผ้าทอมือลายคดกริชผสมพิกุลแปดตะกอ ของเกาะยอ จ.สงขลา ที่มา : รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ. 2538. น.51-1 |
|