ลายลักษณ์อักษรที่ถือว่าเป็นอักษรไทยแบบแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖  ปรากฏหลักฐาน
ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า  “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้  บ่มี  ๑๒๐๕  ศกปีมะแม
พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้”
                จากต้นกำเนิดอักษรไทย  คือ  ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ได้มีการวิวัฒน์
เปลี่ยนแปลง  รูปพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และอักขรวิธีมาเป็นลำดับ  จนเกิดรูปแบบ
“อักษรไทยสุโขทัย”  ในขณะเดียวกันก็ได้แพร่หลายขึ้นไปสู่ดินแดนล้านนา  เมื่อรับไปใช้
ในท้องถิ่นได้ปรับเปลี่ยนกลายเป็นรูปแบบอักษรที่เรียกว่า  “อักษรไทยล้านนา  หรือ 
อักษรฝักขาม”  และรูปแบบอักษรของอาณาจักรล้านนานี้ได้มีอิทธิพลข้ามลำน้ำโขง
ไปยังอาณาจักรล้านช้างเป็นรูปอักษรที่ใช้ในกลุ่มชนชาติ  ที่เรียกว่าไทยน้อย  จึงพัฒนา
เป็น  “อักษรไทยน้อย”  ซึ่งมีปรากฏใช้ในดินแดนภาคอีสานของไทยด้วยและในท้องถิ่น
อีสานก็รับอักษรไทยล้านนาไปใช้พัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะของถิ่นเรียกว่า 
“อักษรไทยอีสาน”

 
           
 

 
 
ที่มา : ราศี บุรุษรัตนพันธุ์.2552,8
 
     
 
Main             Home
 
Next