อิทธิพลของ  อักษรไทยสุโขทัย  มิได้แพร่หลายขึ้นไปเฉพาะทางเหนือ 
แต่ยังแผ่ลงมาทางบริเวณตอนใต้ของอาณาจักร  คือ  อาณาจักรอยุธยา  ซึ่งได้รับรูปแบบ
อักษรไทยสุโขทัยมาใช้และ  มีวิวัฒนาการกลายเป็นรูปแบบ  “อักษรไทยอยุธยา”
 และรูปอักษรในยุคสมัยนี้ก็ได้ใช้ต่อมาโดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาตามกาลสมัย  เข้าสู่ยุค 
“อักษรไทยรัตนโกสินทร์”  มาจนถึงปัจจุบัน
      นอกจากอักษรไทย  หลายรูปแบบที่บรรพชนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ  ใช้สืบมาในแต่ละ
ยุคสมัยแล้ว  ยังมีรูปอักษรแบบอื่น ๆ  ที่คนไทยเราใช้ควบคู่ไปด้วย  สืบเนื่องจากคตินิยม
ที่ถือว่าเรื่องราว  หรือคำสอนทางพระพุทธศาสนา  เป็นสิ่งที่เคารพบูชาสูงสุด 
และควรแบ่งแยกเรื่องของ  “พุทธจักร”  ออกจาก  “อาณาจักร”  จึงกำหนดเลือกใช้
รูปแบบอักษรที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบอื่น ๆที่มิใช่อักษรไทย 
ดังปรากฏหลักฐานขนบธรรมเนียมนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย  ซึ่งได้นำอักษรขอมโบราณ
มาใช้บันทึกคำสอนทางพระพุทธศาสนา  โดยเปลี่ยนแปลงลักษณะจนเป็นรูปแบบของ 
“อักษรขอมสุโขทัย”  และคนไทยก็ยังคงใช้ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา  สืบทอดถึง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และยังคงใช้อยู่จนทุกวันนี้

 

 
 
     
 
 

ที่มา : ราศี บุรุษรัตนพันธุ์.2552,7

 
 

ในท้องถิ่นล้านนา  และอีสาน  ก็มีรูปอักษรที่ใช้สำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวทางศาสนาเช่นกัน  รูปอักษรแบบนี้มีลักษณะเป็นอักษรตัวกลม ๆ  ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณ  เรียกว่า  “อักษรธรรม”  คนไทยในล้านนามักนิยมเรียกว่า  “ตัวธรรม”  หรือ  “ตัวเมือง”  ตัว  หมายถึงตัวหนังสือ  หรือรูปอักษร  นั่นเอง  ส่วนอักษรธรรมที่ใช้ในภาคอีสานจึงมักเรียกว่า  “อักษรธรรมอีสาน”  อักษรธรรมที่ปรากฏใช้อยู่ในสองถิ่นนี้  มีรูปแบบอักษรคล้ายกันมากเพราะอักษรธรรมอีสานก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านนา  แต่เมื่อนำมาใช้รูปพยัญชนะและสระบางตัวก็มีการเปลี่ยนแปลงไป  เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นอีสานขึ้น

 

 
           
 
Main             Home
 
Next