อักษรไทยสมัยสุโขทัย
ภาษาเขียนของคนไทยเกิดขึ้นหลังจากที่คนไทยสร้างเมืองของตนเองขึ้นแล้ว คือ สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของเมืองสุโขทัย 
เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี ที่แล้วมา เมืองสุโขทัยของคนไทยนับว่า เป็นเมืองใหม่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านั้นชนชาติอื่นๆ รอบด้าน มีการรวมตัวกันเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว และที่เป็นเมืองแล้ว ต่างก็มีภาษาเขียนเป็นของตนเองทั้งสิ้น เมืองเขมร เมืองมอญ เมืองพม่า ล้วนมีภาษาเขียนของตนเองก่อนคนไทย ในยุคนั้น และก่อนหน้านั้น เท่าที่ปรากฏในอินเดีย ลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจารึกเรื่องของการปกครองเมือง ศาสนา และประชาชน นับเป็นประเพณีนิยมของกษัตริย์ทั่วไป เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นปกครองเมือง เมื่อมีการทำสงคราม การทำบุญครั้งใหญ่ หรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นในเมือง ก็เป็นประเพณีของกษัตริย์ที่จะทรงบันทึกเรื่องราวไว้ในอินเดีย และลังกา มีการเก็บบันทึกจารึกต่าง ๆ ทั้งของวัดและกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนแสน ประเพณีการจารึกเรื่องราวนี้ ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย และในย่านนี้จารึกโบราณมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤต และต่อมาก็มีจารึกเป็นภาษาของคนพื้นเมืองด้วย คนไทยคงจะใช้ตัวอักษรอื่น ที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในย่านนั้นมาก่อน ซึ่งมีทั้งอักษรมอญ และขอม แต่เมื่อคนไทยมีเมืองเป็นของตนเอง มีกษัตริย์ไทยเองแล้ว แรงผลักดันที่จะต้องมีตัวอักษรของตนเอง เพื่อบันทึกเรื่องราวของกษัตริย์ และเมืองตามประเพณีอยู่ในขณะนั้น ก็ย่อมเกิดขึ้น การใช้ภาษาของไทยเองย่อมจะทำให้เมืองไทยมีฐานะเท่าเทียมกับเมืองอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เราอาจนับว่า การเป็นเมือง และประเพณีการจารึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น 

 
 
                                   
        ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๘-๑๐          ลายมือของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน) สมัยอยุธยา

 
 

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๘ / เรื่องที่ ๖ ภาษา และอกษรไทยอักษรไทยสมัยสุโขทัย  http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book

 
 

ตัวอักษรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากลายสือไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีที่แล้ว เข้าใจว่า คงจะได้เปรียบเทียบ หรือปรับปรุงจากตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตัวหนังสือในปัจจุบันแตกต่างไปจากสมัยสุโขทัยมาก แต่ระบบของตัวพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ยังคงเดิม
อักษรไทยมีใช้มานานประมาณ ๗๐๐ ปีแล้ว จึงเป็นธรรมดาที่จะมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาในปัจจุบัน ทั้งในด้านการเขียน และการแทนเสียง และเพราะเหตุว่า ตัวเขียนไทยเป็นตัวอักษรแทนเสียง ระบบภาษาเขียนจึงเป็นเสมือนบันทึกของลักษณะเสียงของภาษาไทย เมื่อสมัยประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้วได้เป็นอย่างดี นักภาษาศาสตร์สามารถใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ อธิบายให้เห็นว่า เสียงของภาษาในสมัยสุโขทัย ต่างไปจากเสียงในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์

 
           
 
Main             Home
 
Next