ลายลักษณ์อักษรไทย  เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยภูมิปัญญาของ
บรรพชนไทย  ในฐานะเครื่องมือสื่อภาษาให้สามารถบันทึกเรื่องราว  เหตุการณ์ต่าง ๆ 
ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิดได้  ส่งผลให้ชาติไทมีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองขึ้น
 ลายลักษณ์อักษรไทย  เป็นสมบัติ  อันสูงค่าของชาติที่มีอายุมานานหลายร้อยปี
       สังคมโลกปัจจุบันความเจริญทางวัตถุก้าวไกลและเร็วอย่างไร้ทิศทางจนอาจทำให้
โลกของงานด้านศิลปวัฒนธรรมดูเชื่องช้า  อ่อนแอ  ไม่ทันเหตุการณ์  แต่กระนั้นคน
ทั้งหลายไม่อาจลืมความสำคัญและคุณค่าของภาษาและการบันทึกความรู้เป็น
ลายลักษณ์อักษรไว้สืบทอดความรู้  ภูมิปัญญาอันมากมายมหาศาลของมวลมนุษย์ในโลก
ให้เป็นมรดกสู่ชนรุ่นหลัง
      ด้วยเหตุผลที่ว่านี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ 
หรือ  ยูเนสโก  จึงดำเนินกิจกรรมที่สำคัญยิ่งสิ่งหนึ่ง  คือ  แผนงานว่าด้วยมรดกความ
ทรงจำแห่งโลก  เป็นการคัดเลือกพิจารณาและประกาศขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรม
ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของนานาประเทศที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติในโลก  มิใช่มีคุณค่า
เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่ง  หรือภาษาใดภาษาหนึ่ง  เมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์
 ๒๕๕๑  คณะกรรมการของยูเนสโกแห่งเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยความทรงจำแห่งโลก
 (UNESCO  Memory of the World Committee for the Asia Pacific Region-MOWCAP)
 ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวารึกวัดโพธิ์  หรือจารึกวัดพระเชตุพนฯ  (The epigraphic Archives
of Wat Pho-Wat Phra Chetuphon Wimonnangkararam Rajwaramahawiham)
 จำนวน  ๑,๓๖๐  แผ่นเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกแห่งเอเชียแปซิฟิก 
 

 
 
 

ด้วยเหตุที่จารึกวัดพระเชตุพนฯ  มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกสาร
ที่มีคุณค่าเพราะเป็นการรวบรวมหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติ 
คงความเป็นเอกและมีความโดดเด่นทั้งในด้านเวลา  เนื้อหาสาระ  สถานที่  บุคคล ฯลฯ
 อีกทั้งยังมีความหายาก  ความสมบูรณ์และเป็นของแท้ที่มีมาแต่โบราณซึ่งล้วนเป็นภูมิ
ปัญญาไทยที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์สรรพวิทยาความรู้ต่าง ๆ ไว้เพื่อเป็นมรดกความ
ทรงจำอันล้ำค่าให้แก่ลูกหลานและแผ่นดินไทยสืบมาจนทุกวันนี้

 

 
           
 
Main             Home
 
Next