ท่ารำของโนราที่เป็นท่าแบบหรือท่าหลัก สืบได้ไม่ลงรอยกัน เพราะต่างครูต่างตำรากัน และเนื่องจากสมัยก่อน
มีผู้ประดิษฐ์ท่าเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ท่ารำของโนราที่ต่างสายตระกูลและต่างสมัยจึงผิดแปลกแตกต่างกัน แม้บางท
ีที่ชื่ออย่างเดียวกัน บางครูบางตำราก็กำหนดท่ารำต่างกันไป 

ท่ารำที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรวบรวมไว้จากคำชี้แจงของนายจงภักดี (ขาว) ผู้เคยเล่นละครชาตรี
อยู่ที่เมืองตรัง ในบทพระราชนิพนธ์ตำนานละครอิเหนาว่ามี ๑๒ ท่าดังน
ี้

๑. ท่าแม่ลาย
หรือท่าแม่ลายกนก
๒. ท่าราหูจับจันทร์
หรือท่าเขาควาย
๓. ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน)
๔. ท่าจับระบำ
๕.ท่าลงฉาก
๖. ท่าฉากน้อย
๗.ท่าผาลา (ผาหลา)
๘. ท่าบัวตูม
๙. ท่าบัวบาน
๑๐. ท่าบัวคลี่
๑๑. ท่าบัวแย้ม    
๑๒. ท่าแมงมุมชักใย
ภาพท่ารำโนรา ที่มา : โนราห์ http://www.tungsong.com/NakhonSri/Cultures&Games_Nakhonsri/

ท่าเหล่านี้สืบได้ว่าเป็นท่าที่เรียกต่างกันออกไปก็มีแตกต่อเป็นท่าย่อยๆ ออกไปก็มี เช่น ท่าแม่ลาย บางตำราเรียก
ท่าเทพนม (คือแม่ของลายไทย) แตกต่อเป็นท่าเครือวัลย์บ้างเป็นท่าพรหมสี่หน้าบ้าง หรือท่าลงฉาก
บางครูแตกย่อย
เป็นท่าสอดสร้อย เป็นต้น

ท่ารำหลักของโนรายังปรากฏในบทครูสอน บทสอนรำและทบท่าปฐม ซึ่งบทเหล่านี้จะประกอบด้วยท่าต่างๆ
แตกต่างกันไป และเมื่อต่างครูต่างประดิษฐ์ท่ารำของชื่อท่านั้นๆ ก็จะผิดแปลกกัน เช่น ท่าแมงมุมชักใย บางครูยืนรำ
ใช้มือเลียนท่าแมงมุมชักใย บางครูรำแบบตัวอ่อนหลังแล้วม้วนตัวลอดใต้ขา เป็นต้น

ท่ารำต่างๆ ของโนราหรือชาตรี นับเป็นศิลปะชั้นสูงฝ่ายนาฎกรรมของภาคใต้และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโขนละคร
ของนครหลวง ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ามีต้นกำเนิดมาอย่างไร ท่ารำหลักหรือท่าแม่บทมีกี่ท่า อะไรบ้าง แต่ละท่ากรีดกราย
ร่ายรำอย่างไร

จากหนังสือบุด วรรณกรรมที่ปราชญ์ชาวใต้ประพันธ์ไว้สอดคล้องกับตำนานชาตรีของท้องถิ่นว่า เดิมทีนางนวลสำลี
บุตรีท้าวพระยา มีเทวดาเข้าดลใจให้เนรมิตเห็นขี้หนอน (กินนร) มาร่ายรำท่าต่างๆ นางจึงจำท่ารำเหล่านั้นได้

พ่อขุนศรัทธา ซึ่งเป็นครูสอนท่ารำชาตรีนี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า เป็นตัวละครของ
พระเทพสิงหร เมืองอยุธยา และเป็นผู้ที่ได้พาแบบแผนละครลงไปหัดขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรก แต่ตามตำนานชาตรีบอกว่าขุนศรัทธาเป็นบุตรของนางนวลทองสำลี

ข้อที่ตรงกันกับหลักฐานที่ยกมา คือท่ารำโนราที่สอนกันเป็นแม่บท มีอยู่ ๑๒ ท่า มีท่าแม่ลายเป็นอาทิท่าหลัก ๑๒ ท่า
ถ้าพิจารณาจากบทครูสอนที่ยกมาพบว่าที่บอกชัดเจนมี ๑๐ ท่า คือ
(๑) ท่าแม่ลายกนก                   (๖) ท่าบัวบาน
(๒) ท่าราหูจับจันทร์               (๗) ท่าแมงมุมชักใย
(๓) ท่าบัวตูม                          (๘) ท่าหงส์ลีลา
(๔) ท่าบัวคลี่                          (๙) ท่าช้างประสานงา
(๕) ท่าบัวแย้ม                      (๑๐) ท่าขี้หนอน (กินนร)

เมื่อเทียบกับคำบอกของนายจงภักดี (ขาว) โนราจากเมืองตรังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ทรงรวบรวมไว้ในตำนาน
บทละครอิเหนา เห็นว่าท่าที่ขาดไป ๒ ท่านั้น คือ
(๑๑) ท่าจับระบำ (๑๒) ท่าผาลา (ผาหลา)
การเรียกชื่อท่ารำคามคำบอกของ นายจงภักดี (ขาว) นั้น พบว่าเรียกต่างกันอยู่ ๒ ท่า คือ ท่าที่ ๘ "ท่าหงส์ลีลา"
นายจงภักดี เรียกว่า "ท่าลงฉาก" และท่าที่ ๙ "ท่าช้างประสานงา" ของนายจงภักดีเรียกว่า "ท่าฉากน้อย" แต่บทพระนิพนธ์
ตำนานละครอิเหนา อธิบายว่า "ท่าราหูจับจันทร์" ข้อนี้จะคลาดเคลื่อนเพราะ ๒ ท่านี้ต่างกันดังกล่าวมาแล้ว

ครูโนราสมัยต่อๆ มาคงคิดประดิษฐ์ท่ารำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีจำนวนท่าและชื่อท่าเพิ่มขึ้นและแตกต่างกันเพราะต่างครู
ต่างตำรากัน เช่นท่ารำที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพรวบรวมได้จากที่ครูโนราห์ชาตรีเมืองนครศรีธรรมราชจำได้และทรง
รวบรวมไว้ในตำนานละครอิเหนาอีกสำนวนหนึ่งเป็นดังนี้

 

  " เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า
สอดสร้อยมาลาช้านางนอน
ผาลาเพียงไหลพิสมัยเรียงหมอน
กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง
กระต่ายชมจันทร์ทรงกลด
พระรถโยนสารมารกลับหลัง
เยื้องกรายฉุยฉายเข้าวัง
มังกรเรียกแก้วมุจลินท์
กินนรรำซ้ำช้างประสานงา
ท่าพระรามาเก่งศิลป์
ภมรเคล้ามัจฉาชมวาริน
หลงใหลได้สิ้นหงส์ลินลา
ท่าโตเล่นหางนางกล่อมตัว
รำยั่วชักแป้งผัดหน้า
ลมพัดยอดตองบังพระสุริยา
เหราเล่นน้ำบัวชูฝัก
นาคาม้วนหางกวางเดินดง
พระนารายณ์ฤทธิรงค์ขว้างจักร
ช้างหว่านหญ้าหนุมานผลาญยักษ์
พระลักษณ์แผลงอิทธิฤทธี
กินนรฟ้อนฝูงยูงฟ้อนหาง
ขัดจางนางท่านายสารถี
ตระเวนเวหาขี่ม้าตีคลี
ตีโทนโยนทับงูขว้างค้อน
รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้
ท่าชะนีร่ายไม้ทิ้งขอน
เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร
กินนรเลียบถ้ำหนังหน้าไฟ
ท่าเสือทำลายห้างช้างทำลายโรง
โจงกระเบนตีเหล็กแทงวิสัย
กรดสุเมรุเครือวัลย์พันไม้
ประลัยวาตคิดประดิษฐ์ทำ
หระหวัดเกล้าขี่ม้าเลียบค่าย
กระต่ายต้องแร้วแคล้วถ้ำ
ชักซอสามสายย้ายลำนำ
เป็นแบบรำแต่ก่อนที่มีมา"
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   

 

<<< Previous >>> Next