มโนราห์กฤตชัย สินธุ์สาย |
|||||
การแต่งกาย |
|||||
๑. เทริด(อ่านว่าเซิด) เป็นเครื่องประดับศรีษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ( โบราณไม่นิยม ให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ |
|||||
|
|||||
๓. ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก นางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับ โนราใหญ่หรือตัวยืน เครื่องสวมติดกับสังวาลย์อยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้าน ซ้ายและ ขวา คล้ายตาบทิศของละคร | |||||
๔. ซับ ทรวง หรือทับทรวง หรือตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรง ทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนม เปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอย เป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้ เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ ใช้ซับทรวง | |||||
๕. ปีก หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หางหรือหางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควาย หรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก ๑ คู่ ซ้าย ขวา ประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกัน ไว้ มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลาย ปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอด ทั้งข้างซ้าย และขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับ สะเอว ปล่อย ปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี | |||||
๖. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่ง ทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลาย ชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบนเรียกปลาย ชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์ " (แต่ชาวบ้านส่วน มากเรียกปีกว่า หาง หงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและ รัดรูปแน่นกว่านุ่งโจงกระเบน | |||||
๗. หน้า เพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือ สนับเพลา สำหรับ สวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อย ทับหรือร้อยแล้ว ทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิงรักร้อย | |||||
๘. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่ หรือ นายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบ เป็นลวดลาย ทื่ทำเป็นผ้า ๓ แถบ คล้ายชาย ไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่าง ๆ สำหรับคาดห้อยเช่น เดียวกับชายไหว | |||||
๙. ผ้าห้อย คือ ผ้า สีต่าง ๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง แต่อาจ มีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งบาง สีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อย ลงทั้งด้าน ซ้าย เละด้านขวาของหน้าผ้า | |||||
๑๐. กำไล ต้นแขนและปลายแขน เป็นกำไลสวมต้นแขน เพื่อ ขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่า งามยิ่งขึ้น | |||||
๑๑. กำไล กำไลของโนรามัก ทำด้วยทองเหลือง ทำเป็น วงแหวน ใช้สวมมือ และเท้าข้างละหลาย ๆ วง เช่นแขนแต่ละ ข้าง อาจสวม ๕-๑๐ วงซ้อนกัน เพื่อเวลา ปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้า ใจยิ่งขึ้น | |||||
|
|||||
๑๓. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่ง เป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่ มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูก งุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนทื่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็น ฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจเลี่ยมฟัน (มีเฉพาะ ฟัน บน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ด สีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก | |||||
๑๔. หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็น หน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ | |||||
ภาพเครื่องแต่งกาย ที่มา : เครื่องแต่งกายตามแบบอย่างโนรา http://www.geocities.com/radompol/sub_sara/manora/dress.html |
|||||