|
มโนราห์กฤตชัย สินธุ์สาย แสดงในงานไหว้ครูโนรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2-5 ก.ค.2556 |
องค์ประกอบหลักของการแสดงโนราซึ่งเป็นการแสดงเพื่อให้ความบันเทิงโดยตรงมีดังนี้ (๑) การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกัน (๒) การร้อง โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน (๓) การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กันต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลายและครบถ้วนตามคำร้องทุกถ้อยคำต้องขับบทร้อง (๔) การรำเฉพาะอย่าง นอกจากโนราแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทดังกล่าวแล้วยังต้องฝึกการำเฉพาะอย่างให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษด้วยซึ่งการรำเฉพาะอย่างนี้ (๔.๑) รำบทครูสอน (๔.๒) รำบทปฐม (๔.๓) รำเพลงทับเพลงโทน (๔.๔) รำเพลงปี่ (๔.๕) รำเพลงโค (๔.๖) รำขอเทริด (๔.๗) รำเฆี่ยนพรายและเหยียบลูกนาว (เหยียบมะนาว) (๔.๘) รำแทงเข้ (๔.๙) รำคล้องหงส์ (๔.๑๐) รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท (๕) การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติโนราไม่เน้นการเล่นเป็นเรื่อง แต่ถ้ามีเวลาแสดงมากพอหลังจากการอวดการรำ |