ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่

หนังใหญ่เป็นมหรสพที่เก่าแก่ของไทยที่มีมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว  มีหลักฐานด้สนเอกสารจากกฎมณเฑียรบาลราวต้นพุทธศตวรรษที่  ๒๐  จากช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน  ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการแสดงหนังใหญ่ไว้ดังนี้

สมัยกรุงศรีอยุธยา
                ปรากฏหลักฐานในการแสดงหนังใหญ่ไว้ดังนี้
                สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่  ๑  (พระเจ้าอู่ทอง)  ปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลเป็นหนังสือเกิดขึ้นในปี  พ.ศ.  ๑๙๐๑  ได้บ่งบอกเกี่ยวกับการแสดงหนังใหญ่ไว้ว่าเป็นมหรสพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของไทยในสมัยนั้น
                สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีหลักฐานเกี่ยวกับหนังใหญ่ในกฎมณเฑียรบาล  พ.ศ.  ๒๐๐๑
                สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  มีหลักฐานปรากฏมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้พระมหาราชครูแต่งเรื่องสมุทรโฆษชาดกคำฉันท์ขึ้น  เพื่อเล่นหนังเพิ่มเติมจากเรื่องที่เล่นกันมาแต่ก่อน  ดังปรากฏไว้ในแผนกหนังสือ  “สมุทรโฆษคำฉันท์”  ของพระมหาราชครูว่า 
                                “พระบาทกรุงไท้ธรณี                                       รามาธิบดี
                ประเสริฐด้วยเดโชชัย
                                เดชะอาจผโอนท้าวไท                                        ทั่วทั้งภพไตร
                ตระหนกด้วยเดโชพล
                                พระบาทกมลนฤมล                                            ท้าวทั่วสากล
                มาถวายบังคมเคารพ
                                สบศิลป์นเรศวรพบ                                             ธรรมาคมสบ
                ปการรู้รสธรรม์
                                พระปรีโชบายอนันต์                                          บริกษสรร-
                พการสุดสงกา
                                พระรำฤกยศพระศาสดา                                    ปางเป็นราชา
                สมุทรโฆษอาดูร                                                                  
                                เสด็จเสวยสุรโลกพิบูลย์                                     เสร็จเสด็จมาพูล
                ในมรรคทรงธรณี
                                แสดงศิลป์ธนูศรศรี                                             ผจญคณกษัตริย์
                อันโรมในรณควรถวิล
                                ได้ไท้เทพีชื่อพิณ-                                                ทุมดีเจียรจีน-
                ตโฉมอนงคพิมล
                                พระให้กล่าวนิพนธ์                                            จำนองโดยกล
                ตระการเพลงยศพระ
                                ให้ฉลักแสบกอันชระ                                         เป็นบรรพบุรณะ
                นเรนทรราชบรรหาร
                                ให้ทวยนักคนผู้ชาญ                                           กลเล่นโดยการ
                ยเป็นบำเทิงธรณี

ที่มา : ผะอบ โปษะกฤษณะ. 2520,ไม่ปรากฎเลขหน้า

ในพระราชปรารภของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในการจะเผยแพร่พุทธศาสนา  เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสกำลังรุกรานคนไทยให้นับถือศาสนาคริสต์  ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพของพระองค์  สร้างวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระยศของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ลือไกล  โดยการใช้หนังใหญ่เป็นสื่อต่อสู้สงครามเย็น  โดยใช้นาฏวรรณกรรมเป็นอาวุธ  คนไทยสมัยนั้นนิยมกันมาก  มีดนตรีอีกทึกเร้าใจ
                สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  มีหลักฐานในหนังสือเรียน  “ปุณโณวาทคำฉันท์”  ของพระมหานาค  วัดท่าทราย  ได้เล่าเรื่องการเล่นหนังใหญ่แสดงเรื่องรามเกียรติ์  บรรยายว่าเป็นมหรสพที่แสดงสมโภชพระพุทธบาทในตอนกลางคืน  ในบทไหว้ครูก่อนการเล่นหนังใหญ่  บทเบิกหน้าพระทวยแรก  ได้กล่าวไว้ชัดเจนดังนี้
                                อยุธยาถาวรเปรมปรีย                                          ทุกข์ภัยไม่มี
                สนุกมิแม้นเมืองสวรรค์
                                เครื่องเล่นโขนละครหุ่นประชัน                      เชิดชูกลางวัน
                ด้วยเครื่องวิจิตรแต่งกาย    
                                ราตรีรัศมีเพลิงพราย                                           หนังงามลวดลาย
                กระหนกกระหนาบภาพหาญ
                                                                                ฯลฯ
                บทเบิกหน้า  พระทวยแรก  ความที่  ๓
                                กลางวันโขนละครโสภา                                    หุ่นเห็นแจ่มตา
                ประดับด้วยเครื่องเรืองไร
                                ราตรีรัศมีแจ่มใส                                                  หนังส่องแสงไฟ
                จึงเห็นวิจิตรลวดลาย

<<< PREVIOUS >>> NEXT