![]() |
๔. หนังง่า เป็นหนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยว |
![]() |
หนังง่ายักษ์ปักหลั่น |
หนังง่านางอังกาศตะไล |
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังง่านางผีเสื้อสมุทร |
หนังง่าชมพูพาน |
หนุมานในท่าเหาะลายที่๑ |
![]() |
||
หนุมานในท่าเหาะลายที่๒ |
||
![]() |
๕. หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพก็ได้ อยู่ในหนังผืนเดียวกัน ซึ่งในผืนหนังจะต้อง ประ กอบด้วยภาพปราสาทราชวัง วิมาน พลับพลา ท้องพระโรง ศาลา ที่มีตัวละครในเรื่องที่จะแสดง นั่ง นอน พูดกัน หรือมีท่าทางอื่น ๆ ตามเนื้อเรื่อง ที่ใช้แสดง หนังเมืองจะมีความกว้างมากที่สุด ตามขนาดของผืนหนังสูงประมาณ ๒ เมตร ภาพตัวอย่างหนังเมือง ได้แก่ |
![]() |
ศาลาฤาษี |
ตำหนักสวนขวัญของทศกัณฐ์ |
|
![]() |
๖. หนังจับ เป็นหนังที่มีภาพตัวละครในเรื่องตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปอยู่ในหนังผืนเดียวกันส่วนใหญ่ |
![]() |
หนังจับลิงขาวกับลิงดำ |
หนังจับองคตกับยักษ์ปักหลั่น |
|
![]() |
๗. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นหนังที่ไม่จัดอยู่ในหนังประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะ แยกย่อยได้ดังนี้ - หนังเตียว เป็นภาพหนัง ๒ ตัวกำลังจับมัด เช่น ลิงขาวจับลิงดำ - หนังปราสาทเป็นภาพหนังที่มีตัวละคร นอนอยู่ในปราสาท เช่น ปราสาทอินทรชิต - หนังเขน เป็นหนังที่เป็นไพร่พลของกองทัพ ไพร่พลลิง เรียกว่า เขนลิง ไพร่พลยักษ์ เรียกว่า เขนยักษ์กว้างประมาณ ๑.๒๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร - หนังเบ็ดเตล็ดที่มีท่าทางแปลก เช่น หนุมานส่งนางบุษมาลี ตัวตลก คนถือบ้องกัญชา คนจีน ภูเขา สระน้ำ นก ดอกไม้ งู พญานาค ลิงเล็กลิงน้อย เป็นต้น |
![]() |
หนังเตียวลิงขาวมัดลิงดำ |
หนังปราสาท/ปราสาทอินทรชิต |
|
![]() |
![]() |
![]() |
หนังเขนลิง |
หนังเขนลิงสิบแปดมงกุฎ |
สระโบกขรณี |
![]() |
![]() |
![]() |
หนุมานส่งนางบุษมาลี |
หนุมาน องคต ชมพูพาน ขี่นกสัมพาที |
หนุมานหักสวน |
ที่มา : เสถียร ชังเกตุ. 2538, 12-24 |
||