การแบ่งประเภทของเสียงนกนั้น เป็นแนวทางในการแยกประเภทการร้องของนกแต่ละตัวว่านกตัวนั้นร้อง เสียงเล็ก เสียงกลาง หรือเสียงใหญ่ และสำหรับการแข่งขัน การแบ่งเสียงนั้นไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดว่านกใดเสียงอะไรแน่ เพราะการร้องของนกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามอายุของนก อีกทั้งขนาดความกว้างของเสียงร้องของนกนั้นไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอน ว่าร้องเสียงกว้างเท่านี้เป็นเสียงเล็ก หรือเสียงกลาง หรือเสียงใหญ่ ไม่เหมือนกับเอาสิ่งของไปชั่งบนตาชั่ง ซึ่งมีมาตราวัดแน่นอนตายตัว ไม่ว่าจะชั่งที่ตาชั่งเครื่องใดก็ตาม แต่การฟังเสียงนกร้องนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง ประกอบกับผู้ฟังมีพื้นฐาน ความรู้ ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ดังนั้น จึงเป็นที่ถกเถียงกันตลอดเวลา สำหรับผู้นิยมเลี้ยงนกเขาชวาเพื่อแข่งขัน เช่น นกที่ร้องก่ำกึ่งระหว่างเสียงเล็กกับเสียงกลาง(เสียงเล็กเต็ม หรือ เสียงกลางต้นๆ) เมื่อหลายคนฟัง บ้างก็ว่าเสียงเล็ก บ้างก็ว่าเสียงกลาง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การฟังเสียงนกร้องนั้นถ้าจะเรียนรู้ให้ได้รวดเร็ว จะอ่านแต่ตำราอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จะต้องพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น การฝึกการฟังเสียงนกที่ดีที่สุดก็คือที่สนามซ้อม หรือสนามแข่งขัน
อนึ่ง การจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียง มีการจัดการแข่งขันตลอดปี ซึ่งจัดโดยสมาคมนกเขาชวาเสียงแห่งประเทศไทยหรือจัดโดยชมรมนกเขาชวาเสียงจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น การจัดการแข่งขันจะตรงกับวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ สนามแข่งขันที่ได้รับความนิยม และมีนกเข้าแข่งขันมากที่สุดก็คือ การแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเชี่ยน ซึ่งจัดขึ้นที่สนามแข่งขันจังหวัดยะลา ประมาณต้นเดือนมีนาคมของทุกปี มีนกที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ เข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมากประมาณ 1,500 นก
การพิจารณาคำร้องของนก
การพิจารณาคำร้องในเบื้องต้นของนกเขาชวา จะเล่นกันที่ปลายมาก่อน ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้ฟังเล่นหรือเลี้ยงสำหรับแข่งขัน ควรพิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้
1. คำปลายคือคำสุดท้ายที่นกเขาชวาเปล่งเสียงออกมา ในการร้อง
1 คำเช่น ว้าว กะ ระ ตะ โปง คำ "โปง" เรียกว่าปลายนิยม ครับ คำปลายที่นิยมเล่นกันจะต้องเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆังดังกังวาน คำปลายที่นิยมกันลักษณะเสียงที่นกร้องออกมาจะเป็น ดังนี้ คือ โกง โปง โมง โวง กง ปง มง วง ปลายนิยมที่มีคะแนนมากและหายากมากที่สุดคือปลายลอย ยาว รองลงมาคือปลายใหญ่ และมีปลายเทียมอีกนะ นักเล่นนกเขาชวาใหม่ ๆ มักแยกไม่ออกว่าปลายนิยมกับปลายเทียมต่างกันอย่างไรด้วย เช่น ว่าว กะ กง กับว๊าว ระ กม ครับ ส่วนนกที่ร้องไม่เปิดปลายนิยมมันจะลงปลายด้วยแม่ กก ครับเช่น ว๊าว กะ ตก, ว๊าว ระ กะ ตก เป็นต้นครับ
2. คำหน้าคือคำที่นกเขาชวาเปล่งเสียงออกมาเป็นพยางค์แรกในคำร้องนั้น ๆ ครับ เช่น ว๊าว กะ ระ ตะ โปง คำว่า ว๊าว เป็นคำหน้าครับ คำหน้าที่นิยมต้องม้วนยาว เช่น ว๊าว เว่า เว้า ครับ
3. จังหวะ นกเขาชวานี่มีการนับจังหวะกันสองแบบครับ เช่นนกร้อง ว๊าว-ระ-ตะ-กะ-โปง บางท่านนับพยางค์เรียกว่านก 5 จังหวะ แต่มีผู้รู้หลายท่านบอกเป็นนก 4 จังหวะคือนับจังหวะว่างด้านใน แต่อย่างไรก็ตาม มีกรรมการที่เรารู้จักดีคือ อาจารย์ประกอบ วรรณประเสริฐ ได้เขียนตำราเกี่ยวกับนกเขาชวาไว้หลายเล่ม พร้อมทั้งจัดทำเทปเสียงร้องของนกเขาชวา ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อวงการนกเขาชวาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเรียกนกร้องอย่างนี้ว่า นกร้อง 5 พยางค์แต่ 4 จังหวะ การฟังนกร้องก็ต้องอย่าลืมถึง จังหวะใน และจังหวะนอก จะต้องไม่ชิดจนเกินไป หรือ ห่างมากจนเกินไป เหมือนเทปยืด
4. น้ำเสียงของนกจะต้องมีความกังวาน ยิ่งถ้านกเลี้ยงเพื่อแข่งขันแล้วน้ำเสียงจะต้องดี ไม่อย่างนั้นแล้วจะสู้เขาไม่ได้
(นกเขาชวา.http://www.nokkaochava.com/index.php?lay)
|