การผสมพันธุ์นก

         ควรเตรียมการดังนี้
         1. สถานที่ตั้งกรงผสมพันธุ์
         2. กรงผสมพันธุ์
         3. นกพ่อพันธุ์ และ นกแม่พันธุ์
         4. อาหารหลัก ได้แก่ ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น น้ำสะอาด ดินดำ ทราย
สถานที่ตั้งกรงผสมพันธุ์
         ความสำคัญของสถานที่ตั้งกรง ยึดหลัก 2 ประการ คือ
         1. สถานที่ตั้งต้องโปร่ง ไม่อับลม
         2. กรงต้องมีแสงแดดส่องถึงบางส่วน

กรงผสมพันธุ์
         ขนาดกรงที่เหมาะสม คือ
         1. สูง 90 เซ็นติเมตร เท่ากับความกว้างของลวดตาข่าย
         2. กว้าง 60 เซ็นติเมตร เพื่อความสะดวกในการจับ พ่อ/แม่ และลูกนก
         3. ยาว 120 เซ็นติเมตร ประตูควรอยู่ตรงกลางของกรง เพื่อสะดวกในการจับนก

         4. หลังคา ควรยกให้สูงพ้นส่วนบนของกรง เพื่อให้ระบายความร้อน ด้านข้างของกรงควรปิดไม่ให้นกเห็นกันกับนกข้างเคียงป้องกันความหึงหวงคู่ผสม
         5. รูปแบบของกรงผสม
             5.1 กรงเดี่ยว/กรงตับ ยกพื้นสูง
             5.2 กรงเดี่ยว/กรงตับ ตั้งบนพื้นดิน

         อนึ่งในกรงผสมนั้นจะต้องมีรังไข่ไว้สำหรับให้แม่นกออกไข่และฟักไข่ ใกล้กับรังไข่ต้องมีคอนไม้ไว้ให้นกเกาะ ยืน เดิน ความยาวประมาณ 6 นิ้ว หรือประมาณ นก จำนวน 4 ตัว เกาะได้  เนื่องจากลูกนกที่เกิดใหม่จะมีครอกละไม่เกิน 2 ตัว  นอกเหนือจากคอนไม้ตามปกติที่มีไว้ในกรง เพื่อให้ พ่อ แม่ นก เกาะ โผบิน เป็นการออกกำลังกายตามธรรมชาติ
นกพ่อพันธุ์ และ นกแม่พันธุ์
        

ไม่ว่าท่านจะคิดผสมพันธุ์นกเพื่องานอดิเรกหรือเพื่อการค้าก็ตาม ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
         1. สายพันธุ์ของพ่อนกและแม่นก ควรเป็นสายพันธุ์ที่เคยให้ลูกออกมาดี
         2. คุณภาพของพ่อนกและแม่นก  ควรคำนึงถึงด้วยว่า คำร้องเป็นอย่างไร โดยพิจารณา คำหน้า ปลาย จังหวะใน และน้ำเสียง อยู่ในระดับใด หากพ่อแม่ดีลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสดีด้วย
       

กรงตับ ตั้งบนพื้นดิน

 
3. ความสมบูรณ์ปราศจากโรค ก่อนที่จะปล่อยพ่อแม่นกลงผสมพันธุ์ ควรถ่ายพยาธิ เนื่องจากนกบางตัวอาจมีพยาธิอยู่ ยาถ่ายพยาธินั้นใช้ยาถ่ายพยาธิสำหรับเด็ก มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปหรือพ่อค้าที่ขาย วัสดุ อุปกรณ์ อาหารนก ณ สนามแข่งขัน
         4. อายุของพ่อนกและแม่นก นกที่จะลงผสมพันธุ์ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 8 เดือน เนื่องจากนกอายุขนาดนี้เจริญเติบโตเต็มตัวแล้ว เปรียบเสมือนกับคนก็เป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว พร้อมที่จะผสมพันธ
ุ์
(นกเขาชวา   http://www.nokkaochava.com/index.php?lay)

กรงตับ ยกพื้นสูง

ภาพประกอบ  ที่มา : นกเขาชวา   http://www.nokkaochava.com/index.php?lay=show&ac

ระยะเวลาเของการฟักไข่
                ไข่นกเขาชวาจะใช้เวลาฟักประมาณ  ๑๔-๑๕  วันจึงจะออกเป็นลูกนก  แต่ถ้าอากาศร้อน ๆ  หรือฟักในฤดูร้อน  อาจใช้เวลาเพียง  ๑๔  วัน  ส่วนในฤดูหนาวต้องใช้เวลานานถึง  ๑๕  วันเต็ม  จึงจะออกเป็นลูกนก  โดยปรกติจะไม่เกิน  ๑๖  วัน

ระยะเวลาที่ลูกนกเริ่มช่วยตัวเองได้
                ลูกนกที่ออกจากไข่นานประมาณ  ๑๒-๑๔  วัน  จะเริ่มหัดบิน  ครั้นเวลาล่วงมานานประมาณ  ๒๐-๒๕  วัน  แม่นกก็จะเริ่มออกไข่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ในระยะนี้พอนกจะไล่ตีลูกนก  โดยปรกติประมาณ  ๒๐  วัน  หลังจากที่ลูกนกออกจากไข่  ควรจะแยกเอาไปใส่กรงเล็ก  ด้วนเหตุนี้ในช่วงนี้เจ้าของนกจะต้องรีบแยกลูกนกออกมาเลี้ยงไว้ในกรงเล็กทันที  มิฉะนั้นพ่อนกจะจิกตีลูกนกของตนจนตาย  ในระยะแรกที่ลูกนกต้องจากอกพ่อนกแม่นก  ลูกนกเหล่านี้อาจจะกินอาหารเองไม่เป็น  เจ้าของจะต้องเอาถั่วเขียวบดพอแหลกป้องให้กิน  จนกว่าลูกนกจะกินอาหารได้เอง  จึงค่อยนำลูกนกไปปล่อยในกรงใหญ่  เพื่อให้ลูกนกหัดบินออกกำลังสักประมาณ  ๓-๖  เดือน  แล้วจึงค่อยนำมาเลี้ยงในกรงเล็กใหม่
                แต่ถ้านกเขาเพศเมียยังไม่ออกไข่ใหม่  เจ้าของก็อาจไม่ต้องแยกลูกนกจากอกพ่อแม่ก่อนก็ได้  เพียงแต่เจ้าของนกต้องคอยหมั่นเติมอาหารจำพวกเมล็ดดอกหญ้าเล็ก ๆ  ข้าวฟ่าง  และถั่วเขียวบดในถ้วยอาหารที่อยู่ในกรงเสมออย่าให้ขาด  ในช่วงนี้พ่อนกมักจะเป็นผู้คอยป้อนอาหารให้ลูกเอง
                เมื่อลูกนกเริ่มโตขึ้น  ก็ต้องเปลี่ยนอาหารเป็นข้าวเปลือกเมล็ดสั้น  และให้อาหารเสริมพวกดอกหญ้า  ข้าวฟ่าง  ข้าวเหนียวดำ  ปัจจุบันบางคนให้นกกินตั๊กแตนด้วยเป็นการเสริมธาตุนก  ทำให้นกมีกำลังขัน  แต่ก็ต้องระวังอย่าให้นกกินตั๊กแตนที่มีสีน้ำตาลดำ  เพราะอาจตายได้  ตั๊กแตนที่เสริมกำลังควรเป็นตั๊กแตนสีเขียวตัวอ่อนที่มีลักษณะป้อม ๆ  โดยต้องเด็ดขาตั๊กแตนทิ้งให้หมด  ให้เหลือแต่ลำตัวและปีกที่อ่อน ๆ  เท่านั้น  ให้กินครั้งละ  ๓  ตัว  เดือนหนึ่งให้กินประมาณ  ๒  ครั้งก็พอแล้ว  แต่นกเขาที่แข็งแรงแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องให้ตั๊กแตนอีก  ส่วนน้ำจะต้องหมั่นเปลี่ยนเป็นน้ำที่สะอาดอยู่เสมอลืมไม่ได้
                เมื่อลูกนกที่เป็นนกพันธุ์ดีมีอายุได้ประมาณ  ๒-๓  เดือน  ก็จะเริ่มร้องและโกรก  พอประมาณ  ๔-๕  เดือน  เจ้าของก็เริ่มฟังเสียงออกว่าเป็นนกดีหรือไม่  ฝึกขึ้นรอกอีกประมาณ  ๕-๖  เดือนก็นำไปแข่งขันได้แต่ก็อาจมีบวงนกที่เร็วกว่านี้หรือช้ากว่านี้  ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์ของนกเขาด้วย
(มัลลิกา คณานุรักษ์. 2530, 95-96)

 
PREVIOUS     NEXT