พิธีกรรม พิธีกรรมโนราโรงครูทั้งโรงครูใหญ่และโรงครูเล็กมีธรรมเนียมอย่างเดียวกัน แต่รายละเอียดของพิธีกรรมบางอย่าง เช่น รำคล้องสงห์ รำแทงเข้ (จระเข้) ครอบเทริด จะทำกันในโนราโรงครูใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้โนราโรงครูในแต่ละพื้นที่อาจจะมีข้อแตกต่างกันบ้าง พิธีกรรมต่าง ๆ เช่นการตัดจุก เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ การรำถีบหัวควาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพและผู้เกี่ยวข้อง สำหรับโนราโรงครูใหญ่ซึ่งทำ 3 วันมีขั้นตอนการจัดพิธีกรรมดังนี้ |
ต่อมาโนราจะ “ลงโรง” คือประโคมดนตรีล้วน ๆ ประมาณ 12 เพลง จบแล้วทำพิธีร้อง ”กาศครู” เพื่ออธิษฐานคารวะครู โดยมีบทร้อง 4 บทคือ “บทขานเอ” “บทร่ายแตระ” “บทเพลงโทน” ดังตัวอย่าง บทขานเอ บทหน้าแตระ บทร่ายแตระ บทเพลงโทน ครุฑยักษ์ปักษามาพยาบาล ศรัตรูหมู่มาร ขอให้หลบหลีกหนี โนราบางคณะเมื่อกล่าวบทกาศครูจบแล้ว โนราใหญ่จะร้องบทที่ว่าด้วยประวัติความเป็นมาและขั้นตอนการจัดพิธีกรรมโนราโรงครูเรียกว่า “บทบาลีหน้าศาล” จากนั้นร้องเชิญครู โนราใหญ่และผู้เข้าร่วมพิธีจะพร้อมกันกราบครูแล้วโนราใหญ่รำ “ถวายครู” คือร่ายรำด้วยบทต่าง ๆ ของโนราเพื่อบูชาครู และ “จับบทตั้งเมือง” (โนราบางคณะจะจับบทตั้งเมืองในเข้าวันพฤหัสบดี) ซึ่งกล่าวถึงการจับจองพื้นที่โรงโนราเป็นกรรมสิทธิ์ โดยมีตำนานว่า เมื่อครั้งขุนศรีศรัทธารำโนราถวายพระสายฟ้าฟาด พระองค์ได้ประทานเครื่องต้นให้เป็นเครื่องแต่งตัว และประทานแผ่นดินให้ตั้งโรงซึ่งเปรียบเทียบเสมือนว่าเป็นเมือง ๆ หนึ่งของโนรา โดยเหตุดังกล่าวโนรารำโรงครูที่ไหนจะต้องร้องบททำพิธีตั้งเมืองทุกครั้งพิธีจะใช้ขันทองเหลืองใบใหญ่ที่เรียกว่า “แม่ขัน” คว่ำลงกลางโรง เอาผ้าขาวปูทับ ใต้ขันมีข้าว 3 รวง ใบเฉียงพร้า ใบหมากผู้ หญ้าคา หญ้าเข็ดมอน มัดเข้าด้วยกัน แล้วเอามีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ 1 อัน และเทียนชัยใส่รวมเอาไว้ โนราใหญ่จะใช้เท้าขวาเหยียบขันแล้วรำบทต่าง ๆ ตั้งแต่บทครูสอน บทสอนรำ และบทตั้งเมือง ดังตัวอย่างบทตั้งเมืองตอนหนึ่งว่า พ่อตั้งสิ้นตั้งสุด ตั้งพวกมนุษย์ไว้ใต้หล้า หลังจากรำบทตั้งเมืองแล้วก็ถือว่าเป็นเสร็จพิธีในวันแรก คณะโนราจะช่วยกันยกเครื่องสังเวย เทริด หน้าพรานหน้าทีสี ฯลฯ ไปว่างไว้บนศาลหรือพาไล เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ในวันรุ่งขึ้น จากนั้นจะเป็นการำทั่วไปของคณะโนราเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมพิธีและชาวบ้าน |