รูปแบบกลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์
                เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นกลอน  ๔  เหมือนกลอน  ๔  โนราหรือกลอน  ๔  หนังตะลุงต่างกับบ้างตรงสัมผัสส่งสัมผัสรับเท่านั้น  อย่างไรก็ตามหากจะเอากลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์มาขับดนราหรือขับหนังตะลุงก็ย่อมทำได้  และทำนองเดียวกัน  หากจะเอากลอน  ๔  โนราหรือกลอน  ๔  หนังตะลุงมาร้องเป็นเพลงเรือแหลมโพธิ์ก็ย่อมทำได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน
                เพลงเรือแหลมโพธิ์  ที่จริงก็คือกลอน  ๔  ปกติทั่วไปนั่นเอง  เพียงแต่เพลงเรือแหลมโพธิ์นั้นรวบวรรคสดับกับวรรครับของกลอน  ๔  มาเป็นกลอนแรก  ๑  กลอน  และรวบวรรครองกับวรรคส่งมาเป็นกลอนหลังอีก  ๑  กลอน  เป็นกลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์  ๑  บท  ซึ่งเท่ากับ  ๒  กลอน  ดังนี้

                                กลอน  ๔                                                               กลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์
                                                                                              
สดับ       0  0  0  0                 0  0   0   0                 รับ       0   0   0   0   0   0   0  0      กลอนแรก
 
รอง         0  0  0  0                 0  0   0   0                 ส่ง       0   0   0   0   0   0   0  0       กลอนหลัง

 

ตัวอย่าง
                ขึ้นข้อต่อกล่าว                      เรื่องสาวแปดสี่                     ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสาวแปดสี่
               
              แต่งตัวสวยดี                           เข้าทีตามยุค                           แต่งตัวสวยดีเข้าทีตามยุค

                การส่งสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกับกลอน  ๔  หรือกลอนทั่วไป  คือมีตัวส่งตัวรับแต่เมื่อไปเข้ารูปแบบเพลงเรือแหลมโพธิ์แล้ว  ทำให้ดูเหมือนว่า  กลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์นั้นคำท้ายกลอนผัมผัสกันเป็นคู่ ๆ  แต่ที่จริงแล้วจะมีสัมผัสเหมือนกลอน  ๔  ทุกประการ  ดังนี้

                                                กลอน  ๔                                        กลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์
บท  ๑    สดับ        0   0   0   0         0  0   0   0     กับ         0   0   0   0   0   0   0   0     กลอนแรก
              รอง          0   0   0   0        0   0   0   0                   0   0   0   0   0   0   0   0
บท  ๒                    0   0   0   0        0   0   0   0                   0   0   0   0   0   0   0   0
                               0   0   0   0        0   0   0   0                   0   0   0   0   0   0   0   0

 

                ตัวอย่าง
บท ๑                      ขึ้นข้อต่อกล่าว        เรื่องสาวแปดสี่    ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสาวแปดสี่
                                แต่งตัวสวยดี           เข้าทีตามยุค          แต่งตัวสวยดีเข้าทีตามยุค

บท  ๒   เดินไปทางไหน      มีแต่เรื่องหนุก      เดินไปทางไหนมีแต่เรื่องหนุก
                           เป็นไปตามยุค         สมัยนิยม              เป็นไปตามยุคสมัยนิยม
               
                มีข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งในการเริ่มต้นขึ้นเพลงเรือแหลมโพธิ์นั้น  คือจะต้องขึ้นต้นด้วยกลอนแรกหรือกลอนหลังก็ได้  ดังตัวอย่างเช่น
                ตัวอย่าง   ขึ้นต้นด้วยกลอนแรก   จากเพลง  “ชมเรือพระ”  ของนายสังข์  ไชยพูล
                                                                มาถึงลำทรงเรือขององค์พระพุทธ
                                                                ยอดเหมือนมงกุฎผุดผ่องต้องตา
                                                                ชั้นสบสมทรงเหมือนหงส์ร่อนรา
                                                                ธงข้างธงม้าล้อมหน้าล้อมหลัง
                                                                มีเบาะมีอานม่านแกวกแหวกบัง
                                                                แลแลเหมือนวังของท้าวเจ้าเมือง
                                                                ข้างบนระยับประดับเขียวเหลือง
                                                                แลดูรุ่งเรืองส่งแสงแทงตา
                ตัวอย่าง   ขึ้นต้นด้วยกลอนหลัง   จากเพลง  “น้ำเหม็นในคลอง”  ของนายวร  ชูสกุล

                                                                เมืองเราฉงนน้ำฝนมีกรด
                                                                ทำนาทุกแห่งน้ำแห้งกันหมด
                                                                น้ำฝนมีกรดปลาเน่าหัวเปื่อย
                                                                เหนื่อยทั้งวัวควายหญิงชายก็เหนื่อย
                                                                ปลาเน่าข้าวเปื่อยผู้เหนื่อยอดกิน
                                                                น้ำฝนบกพร่องน้ำคลองก็หมิน

แข่งเรือยาว    ที่มา : http://www.khlong-u-taphao.com/index.php?file

รูปแบบเพลงเรือแหลมโพธิ์ดังกล่าวเป็นรูปแบบปกติ  แต่บางครั้งก็พบว่ามีวรรคพิเศษนำมาข้างหน้าก่อนเพื่อเสริมความกลอนจริงในเพลง  บางเพลงอาจมาทำเช่นนี้กับเฉพาะบางกลอนเท่านั้น  แต่บางเพลง  อย่างเช่นเพลง  “สังหรี”  ของนายเชือน  แก้วประกอบ  มีวรรคพิเศษนี้นำทุกกลอนตลอดเพลง  ตัวอย่างเช่น
                                                (วรรคนำพิเศษ                                     (กลอนจริงของเพลง)
                                                ลากพระหลายปี                                   ลากมาปีนี้สังหรีต่อยกัน
                                                เพราะสูทำกูให้ล้ม                               ล้มเห็งสอบต้มคั่วคว่ำเสียครัน
                                                          ฯลฯ                                                      ฯลฯ
                สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในรูปแบบของกลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์ก็คือ  คำรับ  กับ  คำสั่ง  ที่ลูกคู่จะใช้รับใช้ส่งเพลง  ทำให้เพลงสนุกขึ้น
                คำรับ   จะมีความยาวเท่ากับกลอนเพลงวรรคหน้า  ๑  วรรคหรือ  ๔  คำ  โดยแบ่งเป็น  ๒  จังหวะ ๆ  ละ  ๒  คำ  แต่ที่จริงโดยทางปฏิบัติแล้วอาจจะเกินจังหวะละ  ๒  คำก็ได้  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นต้องเป็นที่ของลูกคู่ที่จะต้องร้องรับคำนั้นไม่ให้เสียจังหวะ  ขณะเดียวกันก็ต้องให้ได้รสชาติด้วย  ดังตัวอย่างเช่น
                “งามแล้ว   สวยแล้ว”                                           “น้องนั้นแหล้   สาวนั้นแหล้
                “หรอยจ้าน  หรอยจ้าน”                                     “จริงแล้วแหล้   แน่แล้วนาย”

และบางครั้งก็อาจจะเป็น  จังหวะหน้า  ๒  คำ  จังหวะหนัง  ๓  คำ  เช่น  “หายแน่  หายแน่นอน”  หรือไม่ก็จะมีเสียงกระทุ้งระหว่างวรรคก็ได้เช่น  “แลต๊ะ  อึ๊  น่าหรอย”  หรือ  “อย่าแค็ก  บ่าวเหอ  อย่าแค็ก”  คำว่า  อึ๊  หรือ  บ่าวเหอ  ล้วนแต่เป็นเสียงกระทุ้งให้คำรับเผ็ดมันมีรสชาติเข้มข้นทั้งนั้น
                คำรับนั้น  ในแต่ละเพลงเมื่อใช้คำใดแล้วก็ต้องใช้คำนั้นจนจบเพลง
                คำรับจะเป็นตัวกำหนดแนวของเพลงว่าจะไปทางใด  บางทีอาจมีความสำคัญพอ ๆ  กับเนื้อเพลงด้วย  เพราะถึงเนื้อเพลงจะไปในแนวนั้น ๆ  แต่ถ้าคำรับไม่สอดคล้องก็จะปลุกอารมณ์ทั้งผู้เล่นและผู้ฟังไม่ได้  ดังจะแยกให้เห็นประเภทของคำรับดังนี้คือ
                (๑)   ประเภททีเล่นทีจริง  สนุก      :  น้องนั่นแหล้  สาวนั่นแหล้  (น้องนั่นแหละ  สาวนั่น                                                                                                                      แหละ)
                                                                                    ได้เล่า    ได้เล่า   (ได้อีก   ได้อีก)
                                                                                     ทิ่มกันมั่ง   แทงกันมั่ง
                                                                                     แลต๊ะ   อึ๊   น่าหรอย   (ดูซิ  ฮึ  น่าหร่อย)
                (๒)   ประเภทชมความงาม   (อย่างจริงใจ)
                                                                                :   งามแล้ว   สวยแล้ว
                                                                                :   ดังจริง   ดังจริงจริง
                                                                                    เออโถก  เออโถก   (เออถูก  เออถูก)
                                                                                    จริงแล้วแหล้   แน่แล้วาย
                                                                                    กูเสียใจ  อึ๊  กูก็เสียใจ
                (๓)   ประเภทสนับสนุน                    :   ดังจริง  ดังจริงจริง
                                                                                    เออโถก   เออโถก   (เออถูก   เออถูก)
                                                                                    จริงแล้วแหล้   แน่แล้วนาย
                                                                                    กูเสียใจ  อึ๊  กูก็เสียใจ
                (๔)   ประเภทถาม                               :    โถกม่ายน้อง  จริงม่ายน้อง
                                                                                     จริงเฮอ   เออแหล้   (จริงรึ   เออซิ)
                (๕)   ประเภทต่อว่า  เสียดสี               :    อย่าแค็ก  บ่าวเหอ   อย่าแค็ก
                                                                                                                         (อย่าซ่า  หนุ่มเอ๋ย  อย่าซ่า)
                                                                                    ข้าวกะแพง  เคยกะแพง
                                                                                                                         (ข้าวก็แพง กะปิก็แพง)

                จากการศึกษาเพลงเรือแหลมโพธิ์ทั้งหมดเท่าที่เก็บได้ในขณะนี้จำนวน  ๕๕  เพลงพบว่ามีเพลงที่ไม่ได้คำรับมา  ๔  เพลง  มีคำรับ  ๕๑  เพลง  คำรับทั้งหมด  (ที่ไม่ซ้ำกัน) รวม  ๔๓  คำ  คำรับที่ใช้มากที่สุดคือ  “น้องนั่นแหล้  สาวนั่นแหล้  จำนวน  ๕  เพลง  “งามแล้ว  สวยแล้ว”  กับ  “เออโถก”  อย่างละ  ๓  เพลง
                คำส่ง  เป็นคำที่ใช้ส่งเพลง  มีความยาวเท่ากับครึ่งวรรค  หรือครึ่งของคำรับหรือ  ๒  คำ  ใช้ประสมกับเพลง  ๒  คำหลังของวรรคหน้า  มักลงท้ายด้วยคำว่า  “เหอ”  (เอ๋ย)  และมักใช้คู่คำต่อไปนี้คือ  “เพื่อนเหอ”   “น้องเหอ”  และ  “พี่เหอ”  ใช้คู่คำอื่นก็ได้แต่นิยมใช้คู่  ๓  คำนี้มากที่สุด  คำส่งนี้  ในเพลงเดียวกันอาจเปลี่ยนกันใช้ได้แล้วแต่เสียงนำลูกคู่จะนำอย่างไร

<<< PREVIOUS      NEXT >>>