ผู้เล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์
                ผู้เล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์คณะหนึ่ง ๆ  อาจเล่นได้ตั้งแต่  ๒  คนขึ้นไป  โดยแบ่งเป็น  ๒  ฝ่ายคือ  แม่เพลงกับลูกคู่
                แม่เพลง   คือผู้บอกกลอนมีหน้าที่ร้องกลอนนำให้ลูกคู่ร้องรับตาม  แต่ก่อนนี้เคยใช้คำว่า  “หัวเพลง” 
ปัจจุบันไม่ค่อยพบใช้  แม่เพลงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย  ทั้งนี้เพราะผู้หญิงมีความละอายมากกว่าผู้ชายโดยธรรมชาติและโดยประเพณีนิยมที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้หญิงแสดงออก
ในที่สาธารณะแบบนั้น  หรืออีกประการหนึ่ง  ผู้ชายได้มีโอกาสบวชเรียน  ได้รู้ขนบประเพณี  ภาษามากกว่าผู้หญิงก็ได้  แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงผู้ชายก็ยังคงเรียกว่าแม่เพลงเหมือนกันทั้งนั้น
                แม่เพลงจะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นนักกลอน  คือมีความจำดี  รักสนุก  ความคิดเฉียบคมปฏิภาณว่องไวต่อสิ่งกระทบ
  มีความรู้  ประสบการณ์กว้างขวาง  สนใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบด้าน  โดยเฉพาะสังคมที่ตนเองเป็นส่วนหนึ่งอยู่  แม่เพลงจำนวนไม่น้อยจึงเป็นนักแต่งเพลงด้วย
                ลูกคู่   คือผู้ร้องรับตามแม่เพลง  คอยจังหวะ  คอยกระทุ้งกระแทกเสียงให้เพลงได้จังหวะพอเหมาะ  ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกันทั้งแม่เพลง  ลูกคู่และผู้ฟังอื่น ๆ  การที่ลูกคู่คอยทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แม่เพลงบอกกลอนได้ลื่นไหลดี
ลูกคู่ไม่จำเป็นต้องว่ากลอนได้  แต่ต้องรู้ว่าจะรับกลอนอย่างไร  เช่นบางทีแม่เพลงว่ากลอนเกินคำ  ลูกคู่ต้องรู้ว่าจะตัดคำที่เกินตรงไหนจึงจะทำให้รับได้จังหวะพอดีได้ความกระจ่างชัดอย่างรวดเร็วเป็นอัตโนมัติ  บางทีลูกคู่ก็ต้องสามารถแก้เหตุการณ์เฉพาะหน้าให้แม่เพลงได้เมื่อแม่เพลงติดกลอน  อาจจะโดยร้องรับเพลงตอนส่งซ้ำเพื่อไม่ให้กลอนขาดเสียจังหวะ  ให้เวลาจนแม่เพลงขึ้นเพลงกลอนต่อไปได้  ทั้งหมดล้วนแต่ลูกคู่จะต้องสร้างสมประสบการณ์เอาเองทั้งสิ้น
                เพลงเรือคณะหนึ่งอาจมีผู้เล่นจำนวนมากเท่าจำนวนฝีพายเรือยาวที่พายไปนั่นเอง  เรือยาวบางลำอาจ
มีฝีพายถึง  ๒๕  คน  นั่นก็หมายความว่าเพลงเรือแหลมโพธิ์คณะนั้นอาจมีถึง  ๒๕  คนได้ได้

 

เพลงเรือแหลมโพธิ์ ที่มา : http://www.klonghaecity.org/index.php?module=Reviews&func

วิธีเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์
                การเริ่มเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์นั้น  บางทีก็จะตั้ง  “อีโหย้”  ๓  ครั้งก่อนแล้ว  เริ่มเล่น  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ตั้งอีโหย้เลย
                เพลงเรือแหลมโพธิ์ไม่มีทำนอง  การร้องก็คือการว่ากลอนสามสำเนียงพูดภาษาถิ่น  การร้องนั้นร้องทีละกลอนตามลำดับ  กลอนหนึ่ง ๆ  จะทยอย  ต้องรับ-ส่งกันถึง  ๓  เที่ยวเป็นปกติ  คือ
                เที่ยวที่  ๑   เป็นเที่ยวร้อง-รับ  เป็นเที่ยวที่แม่เพลงต้องบอกเพลงให้จบทั้งกลอน  ก่อนบอกเพลงแม่เพลงต้องบอกให้ลูกคู่รู้ทั่วกันเสียก่อนว่าเพลงนี้จะรับอย่างไร  เช่นเพลงนี้จะต้องรับด้วย  “งามแล้ว  สวยแล้ว”  เมื่อแม่เพลงร้องจบกลอน  ลูกคู่ก็จะรับกลอนพร้อมกันทันทีโดยตัดกลอนวรรคหน้า  ๔  คำออก  ร้องคำรับแทนกลอนวรรคหน้า  ๔  คำที่ตัดไป  แล้วตามด้วยกลอนวรรคหลัง  เป็นการร้องรับของแม่เพลงและลูกคู่เที่ยวที่  ๑  ดังตัวอย่าง  แม่เพลงจะเริ่มร้องด้วยกลอนที่ว่า  “ขึ้นข้อต่อกล่าว  เรื่อสาวสมัย”  คำรับว่า  “งามแล้ว  สวยแล้ว”  แม่เพลงและลูกคู่ก็จะร้องและรับกันดังนี้
                                                แม่เพลง   :   ขึ้นข้อต่อกล่าว  เรื่องสาวสมัย
                                                ลูกคู่         :    งามแล้ว   สวยแล้ว   เรื่องสาวสมัย
                เที่ยวที่  ๒  เป็นเที่ยวรอง  เที่ยวนี้แม่เพลงกับลูกคู่จะแบ่งเพลงในกลอนที่ว่า  “ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสาวสมัย”  ร้องกันคนละวรรค  โดยแม่เพลงร้องวรรคหน้าก่อนแล้วลูกคู่จะร้องวรรคกลังตามติดทันที  ดังนี้
                                                แม่เพลง     :     ขึ้นข้อต่อกล่าว
                                                ลูกคู่          :       เรื่องสาวสมัย
                เที่ยวที่  ๓   เป็นเที่ยวส่ง  แม่เพลงจะต้องแบ่งเพลงวรรคหน้าที่ร้องในเที่ยวที่  ๒  เป็น  ๒  จังหวะ  (จังหวะละ  ๒  คำ)  แล้วแทนที่จังหวะแรก  ( ๒  คำ )  ด้วยคำส่ง  ซึ่งอาจจะเป็น  “เพื่อนเหอ”   “น้องเหอ”   หรือ   “พี่เหอ”   แล้วตามด้วยกลอนจังหวะหลัง  (๒  คำ)  ลูกคู่ก็จะร้องกลอนวรรคหลังเช่นเดียวกับที่ร้องในเที่ยวที่  ๒  ตามติดทันที  ดังนี้
                               
                                                แม่เพลง     : เพื่อนเหอต่อกล่าว
                                                ลูกคู่           : เรื่องสาวสมัย
                เมื่อแม่เพลงกับลูกคู่ร้องรับ-ส่งกันครบ  ๓  เที่ยว  ก็ถือว่าร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์จบไป  ๑  กลอน  แม่เพลงก็จะขึ้นกลอนต่อไป  ดังจะยกตัวอย่างการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ตอนหนึ่งในเพลง  ”ชมเรือพระ”  ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้
                                กลอนที่  ๑  มาถึงลำทรงเรือขององค์พระพุทธ
                                                 ๒  ยอดเหมือนมงกฏผุดผ่องต้องตา
                                                 ๓  ชั้นสบสมทรงเหมือนหงส์ร่อนรา
                                                 ๔  ธงช้างธงม้าล้อมหน้าล้อมหลัง
                                                 ๕  มีเบาะมีอานม่านแกวกแหวกบัง
                                                 ๖  แลแลเหมือนวังของท้าวเจ้าเมือง
                                                                                ฯลฯ

เพลงนี้มีคำรับว่า  “งามแล้ว  สวยแล้ว”  ซึ่งแม่เพลงและลูกคู่จะร้องรับ-ส่งกันดังนี้
กลอนที่  ๑             แม่เพลง      :           มาถึงลำทรงเรือขององค์พระพุทธ
                                ลูกคู่            :           งามแล้ว  สวยแล้ว  ขององค์พระพุทธ
                                แม่เพลง      :           มาถึงลำทรง
                                ลูกคู่            :           ขององค์พระพุทธ
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  ลำทรง
                                ลูกคู่            :           ขององค์พระพุทธ
กลอนที่  ๒            แม่เพลง      :          ยอดเหมือนมงกฏ  ผุดผ่องต้องตา
                                ลูกคู่             :          งามแล้ว  สวยแล้ว  ผุดผ่องต้องตา
                                แม่เพลง      :          ยอดเหมือนมงกฏ
                                ลูกคู่             :          ผุดผ่องต้องตา
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  มงกฎ
                                ลูกคู่             :          ผุดผ่องต้องตา
กลอนที่  ๓            แม่เพลง      :          ชั้นสบสมทรง  เหมือนหงส์ร่อนรา
                                ลูกคู่            :          งามแล้ว  สวยแล้ว  เหมือนหงส์ร่อนรา
                                แม่เพลง      :          ชั้นสบสมทรง
                                ลูกคู่             :          เหมือนหงส์ร่อนรา
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  สมทรง
                                ลูกคู่             :          เหมือนหงส์ร่อนรา
กลอนที่  ๔            แม่เพลง      :          ธงช้างธงม้า  ล้อมหน้าล้อมหลัง
                                ลูกคู่             :          งามแล้ว  สวยแล้ว  ล้อมหน้าล้อมหลัง
                                แม่เพลง      :          ธงช้างธงม้า
                                ลูกคู่             :          ล้อมหน้าล้อมหลัง
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  ธงม้า
                                ลูกคู่             :          ล้อมหน้าล้อมหลัง
กลอนที่  ๕            แม่เพลง      :          มีเบาะมีอาน  ม่านแกวกแหวกบัง
                                ลูกคู่             :          งามแล้ว  สวยแล้ว  ม่านแกวกแหวกบัง
                                แม่เพลง      :          มีเบาะมีอาน
                                ลูกคู่             :          ม่านแกวกแหวกบัง
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  มีอาน
                                ลูกคู่             :          ม่านแกวกแหวกบัง
กลอนที่  ๖             แม่เพลง      :          แลแลเหมือนวัง  ขอท้าวเจ้าเมือง
                                ลูกคู่             :          งามแล้ว  สวยแล้ว  ของท้าวเจ้าเมือง
                                แม่เพลง      :          แลแลเหมือนวัง
                                ลูกคู่             :          ของท้าวเจ้าเมือง
                                แม่เพลง      :          เพื่อนเหอ  เหมือนวัง
                                ลูกคู่             :          ของท้าวเจ้าเมือง
                                                                         ฯลฯ

ที่มา : ก้าวย่างลงคลองฟังเพลงเรือแหลมโพธิ์ หนึ่งในวัฒนธรรมพื้นบ้านสายน้ำอู่ตะเภา http://share.psu.ac.th/blog/aek-story/7928

อนึ่ง  ในการร้องเที่ยวรองกับเที่ยวส่งนั้น  บางทีในบรรดาลูกคู่ทั้งหมด  อาจมีใครสักคนหนึ่งที่อาจมีอารมณ์ร่วมสูงทำตัวเป็นผู้นำลูกคู่  รับหน้าที่แทนแม่เพลง  หรือเป็นต้นเสียงร่วมกับแม่เพลงใน  ๒  เที่ยวหลังนี้ก็ได้  เช่น
                เที่ยวรับ   แม่เพลง    :          แลแลเหมือนวังขอท้าวเจ้าเมือง
                                  ลูกคู่           :          งามแล้ว  สวยแล้ว  ของท้าวเจ้าเมือง
                                  ผู้นำลูกคู่   :          แลแลเหมือนวัง
                                  ลูกคู่           :          ของท้าวเจ้าเมือง
                                 ผู้นำลูกคู่    :          เพื่อนเหอเหมือนวัง
                                 ลูกคู่            :          ของท้าวเจ้าเมือง

                การเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์นั้นเมื่อเล่นจบเพลงก็จะวนมาเริ่มต้นใหม่ได้  เล่นจนกระทั่งเหน็ดเหนื่อยหยุดกันไปเอง  บางเพลงที่แต่งไว้ตั้งใจให้จบแค่นั้นก็จะลงเพลงกลอนสุดท้ายด้วย  “อีโหย้”  เพื่อให้ลูกคู่รับ  “ฮิ้ว”  หรือ  “เฮ้ว”  พร้อมกัน  แสดงว่าจบ  ดังเพลง  “ชมสาว”  ของนายเชือน  แก้วประกอบ  ที่ว่า
                                แม่เพลง       :         พวกเราพร้อมพรู  ตั้งอีโหย้  โอโหว่าโอ
                                ลูกคู่              :         เฮ้ว
                                แม่เพลง       :         โอโหว่าโอ
                                ลูกคู่              :         เฮ้ว
                                แม่เพลง       :         โอโหว่าโอ
                                ลูกคู่              :         เฮ้ว 
-----------------------------------------------

<<< PREVIOUS    NEXT >>>