จุดประทัดเชิดสิงโตวันตรุษจีนเพื่อนำโชค
ในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็ก ๆ แล้วจุด เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู
เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า  บรรดาสุนัขและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้ ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด  น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้ ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง
จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า  นี้  แปลว่า  ปี  คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก 
เพราะเจ้าตัวเหนียน ออกมาอาละวาด  การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บ
ให้ตกใจกลัวหนีไปได้
     แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า จุดประทัดให้เสียงดัง ๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา  บ้างก็ว่า
เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง
      ส่วนการเชิดสิงโตวันตรุษจีน  ที่บางท้องที่จัดเป็นพิธีแห่มังกรใหญ่โต  ธรรมเนียมน
ี้มีความเป็นมาอย่างไร   จำได้ว่าเคยเขียนเรื่องการเชิดสิงโตไว้ในตอนความรู้จากคำ...สิงห์  ปัจจุบันอยู่ในหนังสือขุมทรัพย์ความรู้ซ่อนอยู่ในคำจีน  
     โดยคนจีนเรียกการแสดงเชิดสิงโตว่า ไซ่จื้อบู่  แปลง่าย ๆ ว่า ระบุลูกสิงโต จัดอยู่ในหมวด
การแสดงสวมหน้ากากสัตว์  จากบันทึกของราชวงศ์เหนือ...ใต้  (พ.ศ. ๘๕๐ - ๑๑๓๒) 
เมื่อชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง  มีการแสดงเชิดสิงโตเพื่อไล่ผีที่เชื่อว่า มาลงกินผู้ชายและสัตว์เลี้ยง 
ก่อเกิดเป็นความเชื่อว่า เชิดสิงโตช่วยไล่ภูตผีปีศาจได้ ก็เลยเข้าคู่กันเหมาะมากกับการจุดประทัด
วันตรุษจีน 
     การแห่มังกร ก็เริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน  (พ.ศ. ๒๕๔ - ๓๓๙)  จัดเป็นการแสดงเล็ก ๆ แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น  (พ.ศ. ๓๓๗ - ๗๖๓)  โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลา มังกรมีฤทธิ์เดช
  โดยปลามังกรนี้  คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ  ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากิน
ีได้ผลบริบูรณ์
     แต่เนื่องจากทั้งการเชิดสิงโตและแห่มังกรนี้ ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในเชิงกายกรรมต่อตัว การสมดุลตัวที่สุดของการเชิดสิงโตคือการได้ซองอั่งเปา  สุดยอดของการแห่มังกรคือ  การต่อตัวขึ้นไปเพื่อหยิบซองอั่งเปาบนไม้สูงที่เมื่อทำได้  ความหมายของการได้ซองอั่งเปานี้คือ การจะได้โชคดีกันถ้วนหน้าตลอดปีทีเดียว(จุดประทัดเชิดสิงโต จุดประทัดเชิดสิงโตเพื่อนำโชค
ตรุษจีน gungold.com)

บางตำนานก็ว่ามีในสมัยราชวงศ์ถัง  บางตำนานก็ว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเคี่ยนล่งกุนแห่งราชวงศ์เช็งเฉียว  วงศ์นี้เองที่เปลี่ยนชื่อประเทศเงาะโตลีเป็นประเทศแมนจูเรีย  พระเจ้าเคี่ยนล่งกุนองค์นี้เป็นผู้ที่มีความเก่งกล้าสามารถมาก  วันหนึ่งขณะที่ออกว่าราชการ  ได้มีสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง  รูปร่างคล้ายหมาจูขนาดใหญ่เหาะมาจากทิศตะวันออก  และเหาะลงมาหน้าที่นั่ง  ทำอาการกัมหัวคล้ายถวายความเคารพ  3  ครั้ง  แล้วก็เหาะกลับไปตามทางเดิน
                พระเจ้าเคี่ยนล่งกุนและบรรดาขุนนางต่างพากันตกตะลึงเพระไม่รู้ว่าเป็นสัตว์อะไร  ไม่เคยเห็นกันมาก่อน  เผอิญมีอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่มีความรู้มากได้กราบทูลอธิบายว่า  สัตว์ที่เห็นนั้นเป็นสัตว์ประเสริฐหายากมีชื่อว่าสิงโต  การที่สัตว์เช่นนี้มาปรากฏตัวให้เห็นก็เท่ากับว่า  เป็นการเพิ่มพูนพระเกียรติยศของพระองค์ให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง  ในสมัยต่อมาจึงได้เป็นประเพณีว่าถ้าจะอวยชัยให้พรหรือให้เกียรติกันแล้ว  ก็มักจะมีการเล่นสิงโตประกอบด้วย  นาน ๆ  เข้าก็เลยกลายเป็นอาชีพสำหรับหากินอีกวิธีหนึ่ง
                การเล่นสิงโตในเมืองไทยเข้าใจว่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่  1  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  แต่ไม่ใช่จีนนำเข้ามา  กลายเป็นญวนเป็นผู้นำเข้ามา  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงกล่าวว่าเมื่อครั้งองเชียงสือเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ  ได้คิดฝึกหัดญวนให้เล่นสิงโตอย่างหนึ่งญวนหก  (พะบู๊)  อย่างหนึ่ง  แล้วนำมาเล่นถวาย  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทอดพระเนตร  ด้วยเป็นประเพณีในเมืองญวนว่า  ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกเวลากลางวัน  พวกทหารเล่นเต้นสิงโตถวายทอดพระเนตร  ถ้าเสด็จเวลากลางคืน  มีพวกกระบำแต่งเป็นเทพยดามารำโคมถวายพระพร

 

      

การเล่นเชิดสิงโตอย่างที่พวกญวนเอาเข้ามาเล่นในเมืองไทยนั้นต้นตำราเดิมพวกญวนก็เอามาจากจีนอีกต่อหนึ่ง  ในเมืองจีนนั้นพวกชายฉกรรจ์อกสามศอกที่ใจคอกล้าหาญ  มักจะชวนกันหัดวิชามวยปล้ำหรือการบำรุงกำลังให้เข็มแข็ง  พอถึงตรุษจีนก็คุมกันเที่ยวเล่นประลองกำลังอย่างที่เรียกกันว่า  “พะบู๊”  ให้คนดู  กล่าวกันว่าในสมัยก่อนนั้นสำนักสอนวิชามวยจีนมีอยู่ในมณฑลกวางตุ้งมาก  และว่าการเชิดสิงโตนี้เป็นการละเล่นดั้งเดิมของมณฑลนี้มาก่อน  และที่จัดให้มีการเชิดสิงโตในวันตรุษจีนก็เป็นการโฆษณาของสำนักเรียนอย่างหนึ่ง  คือเป็นการชักจูงให้คนศรัทธามาเป็นศิษย์ในสำนักของตนกล่าวกันอีกทางหนึ่งว่า  กบฏบ๊อกเซอร์หรือกบฏนักมวยซึ่งได้ก่อการกำเริบขึ้นในเมืองจีนเมื่อ  พ.ศ.  2443  วัน  ก็คือพวกเล่นเชิดสิงโตดังกล่าวนี้เอง
                การเล่นสิงโตเวลาตรุษจีนหรือที่จีนเรียกว่า  กิมไซ  (แปลว่าสิงโตทอง)  ในเมืองไทยจะมีกันมาตั้งเมื่อไรและมีทั้งหมดกี่คณะ  ไม่อาจทราบได้แต่เท่าที่มีคนจำได้กล่าวว่า  ในตอนต้นรัชกาลที่  5  มีคณะสิงโตเป็นพวกจีนแคะถึง  10  คณะ  รูปหัวสิงโตในสมัยนั้นระบายสีที่หน้าเป็นสีเขียว  สีเหลือง  สีแดง  และไม่มีนอที่หน้าผาก  ในตำนานของจีนกล่าวว่า  สิงโตในมณฑลกวางตุ้งแต่แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่มีนอเหมือนกัน  เขามีวิธีสังเกตว่าคณะใดเป็นอย่างไรได้จากหัวสิงโต  ซึ่งจะมีการตกแต่งไม่เหมือนกัน  เช่นหัวสิงโตของคณะใดมีเคราสีขาวยาว  มีขนตาสีเขียว  ก็เป็นเครื่องหมายแสดงว่าสิงโตของสำนักนั้นเก่าแก่มาก  หากสิงโตมีเคราสีแดงและเขาเหล็กก็แสดงว่าเจ้าของสำนักนั้นอยู่ในความนิยมของคนทั่วไปและมีอำนาจเหนือกว่าคณะอื่น  ถ้าสำนักไหนหัวสิงโตมีเคราสั้นสีดำและเขาเหล็ก  ก็แสดงว่าสำนักนั้นชอบใช้อำนาจ  ใช้กำลังแผ่อิทธิพล

 
<<< PREVIOUS       NEXT >>>