ต้นโกงกางในป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยของกุ้งเคย ที่มา : สิทธิศักดิ์ เขตสกุล.2556,101
 
 

     อินโดนีเซีย  เรียกว่า  เตอราซี  terasi  (หรือ  trassi, terasie)  ขั้นตอนการทำก็แตกต่างกัน
ตรงที่นำกุ้งหรือเคยมาบดกับเกลือ  แล้วเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น  ๔๘  ชั่วโมง  แล้วนำไป
ตากแดดอีกครั้งก่อนที่จะนำมาบรรจุและขาย  ส่วนสีและกลิ่นหอมของกะปิขึ้นอยู่กับหมู่บ้าน
ที่ผลิต  มีสีม่วงอ่อนจนถึงสีน้ำตาลใน  Cirebon  (เซียบอนเมืองชายฝั่งในชวาตะวันตก)  กะปิ
มักทำจากเคย  ใน  Sidoarjo  (ซีโดร์โจ  ชวาตะวันออก)  กะปิทำจากส่วนผสมของวัตถุดิบหลัก 
คือ  ปลา  กุ้งตัวเล็ก  และผักในอินโดนีเซีย  กะปิเป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำพริก  (Sambal Terasi) 
     แกงส้ม  (sayur asam)  สลัดสไตล์อินโดนีเซียกับซอสถั่วลิสง  (lotek)  สลัดผักดสไตล์อินโดนีเซีย  (karedok) 
และยำผลไม้  (rujak)  ในเกาะลอมบอก  อินโดนีเซีย  มีการทำกะปิที่มีรสเผ็ดและหวาน
เรียกว่า  lengkare  อีกด้วย
        มาเลเซีย  เรียกว่า  เบลาจัน  Belacan  (หรือ  belachan, blachang)  กะปิมาเลย์ถูกเตรียมจาก
เคยคลุกเกลือให้ทั่วแล้วบดละเอียด  ตากแดดให้แห้งแล้วหมักในภาชนะปิดผนึกแล้วเก็บไว้ ๗  วัน
ที่อุณหภูมิห้อง  กะปิจะมีเนื้อสัมผัสเปลี่ยนไปให้เก็บไว้จนได้ผิวสัมผัสที่ต้องการแล้วบีบอัดเป็นก้อน
 อาจแบ่งออกเป็นก้อนสี่เหลี่ยม  และสามเหลี่ยม  ขนาดครึ่งกิโลกรัมหรือ  ๑  กิโลกรัมสำหรับการขาย 
ส่วนกะปิแบบน้ำบรรจุในขวดเรียกว่า  Cincalok  มีรสชาติเปรี้ยวและเค็ม  ชาวมาเลย์ใช้กะปิ
ปรุงอาหารได้หลากหลาย  เช่น  ถั่วฝักยาวผัดกะปิ  และสะตอผัดกะปิกุ้ง
       ฟิลิปปินส์  เรียกว่า  บากูง  อาลามัง  (bagoong aramang)  หรือ  Ginamos  กะปิฟิลิปปินส์ผลิต
จากการผสมเกลือและเคยรวมกันโดยใช้อัตราส่วน  ๓ : ๑  และหมักผสมไว้  ๑๐  วันที่อุณหภูมิห้อง 
    ใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ  kare kare  หรือสตูว์ที่ทำด้วยถั่วและเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นอาหา
รยอดนิยมนอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบของ  binagoongan  หรือหมูตุ๋นสูตรฟิลิปปินส์  เป็นหมูตุ๋นกะ 
ปิผัดกับมะเขือเทศตกแต่งจานด้วยชิ้นพริก  มีรสชาติอย่างยิ่งเมื่อกินกับข้าวสวยร้อน ๆ
     เวียดนาม  เรียกว่า  มัมทอม  เป็นกะปิที่ทำจากกุ้งหรือเคยและเกลือ  ดดยทั่วไปมี  3  รูปแบบ  คือ  ของแข็ง  ของเหลวและแบบเหนียวหนืด  ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของเกลือและการตากแดด 
ในความเชื่อของชาวเวียดนามกะปิมีประสิทธิภาพปัดเป่าวิญญาณชั่วร้ายเพราะเชื่อกันว่าผีกลัว 
   ดังนั้นการกินกะปิจะไม่มีปีศาจมารังควาญ  กะปิมีรสเค็มจะกระตุ้นรสชาติอื่น ๆ จึงเป็นส่วนประกอบ
สำคัญในอาหารเวียดนาม
    นอกจากนี้กะปิยังเป็นอาหารที่นิยมกินในประเทศจีนคนกวางตุ้งเรียก  ฮาม  ฮา  หรือ  ฮาเจิง 
ภาษาจีนฮกเกี้ยน  เรียกว่าฮอมฮา  หรือ  แฮโก  (hae ko)  กะปิแบบนี้สีดำมีส่วนประกอบของน้ำตาล
คล้ายกับอิฐหนาเหมือนลักษณะของ  belacan  แต่มีรสหวานกว่าเพราะใส่น้ำตาลเพิ่ม 
ใช้ปรุงอาหารทั่วไป  เช่น  ปอเปี๊ยะและก๋วยเตี๋ยวฮกเกี้ยน  (Asam laksa)

   

               ส่วนกะปิไทยมีสีแตกต่างกันไป  จากม่วงเข้มไปถึงสีน้ำตาล  และผิวสัมผัสอ่อนนุ่มจนถึงแห้งแข็ง
 ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะการหมัก  และช่วงเวลา
ในการตากแดด  กะปิมีความแตกต่างกันในคุณภาพวัตถุดิบ  กรรมวิธีผลิตตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ  ซึ่งมีมากในแถบชายฝั่งติดกับทะเล 
   

   
 
   
       HOME          MAIN
                    ผลิตภัณฑ์กะปิ                             ประเภท                             หลากหลายเมนูจากกะปิ