ความหมาย
กาสาวพัสตร์ (อ่านว่า กาสาวะพัด) แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด (บาลี: kasāva
กาสาว; สันสกฤต: काषाय kāṣāya กาษาย; จีนตัวเต็ม: 袈裟; จีนตัวย่อ:
袈裟; พินอิน: jiāshā; 袈裟 (kesa); เกาหลี: 가사, ฮันจา: 袈裟,
MC: gasa; เวียดนาม: cà-sa) เป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ผ้านุ่งห่ม
ของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแก่นขนุนหรือสีกรัก ก็เรียกว่าเป็น
ผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นของสูง เป็นของพระอริยะ เป็นเครื่องนุ่งห่ม
ของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้ จัดเป็นสัญลักษณ์
ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
คำว่า กาสาวพัสตร์ ในความหมายรวมๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เช่น แม่พูดกับลูกว่า
“ลูกเอ๋ย บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก” คำว่า ผ้าเหลือง
ในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นเอง ( พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด,
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [เชื่อมโยงจาก royin.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
กาสาวพัสตร์ น. ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. (ป. กาสาว + ส. วสฺตร = ผ้า).
ร่ม น. บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้; สิ่งที่ใช้สำหรับกางกันแดด กันฝน มีด้ามสำหรับถือโดยปริยายหมายถึง ที่พึ่ง, ที่คุ้มครอง, เช่น ใต้ร่มพระบรม โพธิสมภาร ใต้ร่มกาสาวพัสตร์. ว. ซึ่งมีอะไรบังแดด เช่น ถนนสายนี้ร่ม ตลอดวัน.(http://dict.longdo.com/index....)
|
|