ประเภทผ้านุ่งห่มของพระภิกษุ
 ผ้าที่พระวินัยอนุญาตให้นำมาตัดเย็บเป็นผ้านุ่งห่มของพระภิกษุสงฆ์  มีอยู่  ๖  ประเภท  ได้แก่
๑.         โขมะ     คือผ้าเปลือกไม้  เช่น  มัสลิน  หรือลินิน
๒.         กัปปาสิกะ          คือผ้าฝ้าย
๓.         โกเสยยะ            คือผ้าไหม  หรือผ้าแพร
๔.         กัมพละ คือผ้าขนสัตว์
๕.         สาณะ   คือผ้าป่าน
๖.         ภังคะ    คือผ้าฝ้ายแกมด้วยผ้าทั้ง  ๕  อย่างที่กล่าวมาแล้วอย่างไดอย่างหนึ่ง
            เช่น  ฝ้าย แกมไหม  เป็นต้น
           

ผ้าที่มาจากวัสดุต้องห้ามมิให้นำมาทำจีวร  ได้แก่ผ้าคากรอง  หนังสือ
 และผ้ากัมพล  ที่ทอจากผมมนุษย์
                หลักฐานเรื่องสีของผ้าจีวรพระภิกษุไทยสมัยโบราณจะเห็นได้จากภาพใน
จิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมในสมุดไทยโบราณ  ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นตันมาจนถึง
สมัยรัตนโกสินทร์  สีที่ปรากฏ  คือสีเหลืองคล้ำ  หรือออกไปทางเจือด้วยสีน้ำตาลแดง
  ปัจจุบันจีวรพระย้อมด้วนสีวิทยาศาสตร์  สีจีวรแบ่งออกเป็น  ๒  กลุ่มคือสีเหลืองอมส้ม
  หรือสีเหลืองอมน้ำตาล  หรือสีกรัก  ส่วนสีที่มีข้อกำหนดห้ามใช้เป็นสีจีวรคือ  สีคราม
 สีเหลืองสด  สีแดง  สีบานเย็น  สีฝาง  สีแสด  สีชมพู  และสีดำ  ทั้งห้ามใช้ผ้าที่มี
ลายดอกกาววาวเป็นจีวร  ยกเว้นลายดอกพิกุล  หรือลายริ้วของจีวรแพร

   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
                 ความหมาย                        ประเภทของผ้า                          ประโยชน์