ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  มีกฎหมายพระสงฆ์
ฉบับหนึ่งซึ่งออกใช้ในปี  พ.ศ.  ๒๓๔๔  กำหนดบทลงโทษสึกพระภิกษุผู้ใช้จีวรผิดแปลกไป
จากที่สมควรการประพฤติตนไม่ต้องตามพระวินัยบัญญัติ  มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง
ผู้กระทำผิดนั้นว่า
                ...ลางพวกก็เที่ยวซื้อผ้าแพรพรรณในพ่วงแพแลร้านจีน  ร้านแขก  เอาไปเย็บย้อมเป็น
 ผ้าพาด  ผ้าจีวร  ผ่าสบง  ผ้าสไบ  ผ้ากราบพระ  ผ้ารัดประคต  ผ้าอังสะ  กระทำเป็นสีแสด
  สีชมพู  นุ่งครองให้ต้องอาบัติเป็นมหานิตสักคียาทุกครั้ง  ลางพวกก็นุ่งแดงห่มแดง
 ลางพวกก็นุ่งห่มเป็นสีกร่ำอำปลัง  คาดรัดประคตบ้าง  ไม่คาดรัดประคตบ้าง
 คลุมศีรษะสูบบุหรี่  ดอกไม้ห้อยหู  เดินกรีดกรายตามกันดุจฆราวาส  ...
  พิจารณารับเป็นสัจให้พระราชทานผ้าขาวสึกแกเสียจากพระศาสนา

   ผ้าจีวรไม่ได้ทำด้วยผ้าผืนใหญ่ชิ้นเดียวเพราะมีข้อบัญญัติห้ามไว้  จึงประกอบด้วย
ผ้าชิ้นเล็ก ๆ  เย็บต่อกันมูลเหตุคงมาจากสมัยโบราณได้ฝ้าบังสุกุลขนาดต่างๆ
 มาเย็บเข้าด้วยกัน  เดิมรอยต่อคงไม่มีรูปแบบเป็นระเบียบเดียวกัน  ต่อมาพระพุทธเจ้า
ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธแบ่งเป็นสัดส่วนดี  จึงโปรดให้พระอานนท์
ทดลองจัดทำจีวรตามแบบนั้น  ครั้นพระอานนท์จัดทำตามพุทธประสงค์ก็พอพระทัย
โปรดให้ตัดเย็บผ้าจีวรตามที่กำหนดใหม่นั้นสืบมาคือ  แบ่งเป็นกระทงมีเส้นคั่น
 กระทงใหญ่เรียกว่ามณฑล  กระทงเล็กเรียกว่าอัฒมณฑล  เส้นคั่นขวางเรียกว่า
อัฒกุสิ  รวมทั้ง  ๓  อย่าง  เรียกว่าขัณฑ์  ในระหว่างขัณฑ์มีเส้นคั่นยืนเรียกว่ากุสิ
  ขอบทั้ง  ๔  ด้านของผ้าเรียกว่าอนุวาตจีวรผืนหนึ่งกำหนดให้มีขัณฑ์ไม่น้อยกว่า
  ๕  ขัณฑ์  หรือมากกว่านั้นได้คือ  เป็น  ๗, ๙  และ  ๑๑  ขัณฑ์ 
   
   
   
   
   
 
                 ความหมาย                        ประเภทของผ้า                          ประโยชน์