ผ้ากาสาวพัสตร์  ใช้เรียกรวมหายถึงผ้านุ่งห่มของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอันได้แก่ผ้า  3  ผืนหลักคือ  สบง  จีวร  และสังฆาฏิ  หรือเรียกในความหมายรวมกันว่าผ้าจีวร  ถ้าจะแปรตามตัวกาสาวพัสตร์  แปลว่าผ้าย้อมฝาดในสมัยพุทธกาลไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าผ้าจีวรเป็นสีอย่างไร  แต่กล่าวว่าเป็นผ้าย้อมฝาด  น้ำฝาดมาจากวัสดุธรรมชาติที่กำหนดไว้  ๖  อย่างคือ  เหง้ารากไม้  ต้นหรือแก่นไม้  เปลือกไม้  ใบไม้  ดอกไม้และผลไม้  ผ้าที่ย้อมฝาดคงจะมีสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมแดงที่เรียกว่า  สีกรัก  สีดังกล่าวเป็นสี่ที่ดูสุภาพเหมาะสำหรับเป็นผ้านุ่งห่มของพระสมณะ

    ในระยะแรกนั้น  พระพุทธเจ้าทรงยังไม่อนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับจีวรซึ่งฆราวาส
ตัดเย็บถวายพระภิกษุต้องแสวงหาผ้ามาทำจีวรเอง  ซึ่งได้แก่ผ้าที่คนทั่วไปทิ้งแล้ว
หรือผ้าไม่มีเจ้าของ  ทิ้งอยู่ตามถนนหนทางหรือได้จากผ้าห่อศพผ้าเหล่านี้เรียกว่า
ผ้าบังสุกุล  เมื่อได้ผ้ามาแล้วก็นำมาซักล้างให้สะอาดย้อมด้วยฝาดและเย็บต่อกันเป็นผืน
  พระภิกษุครั้งพุทธกาลจึงต้องตัดเย็บจีวรเองเป็น  ทั้งถือเป็นกรณียกิจสำคัญที่
พระภิกษุจะต้องช่วยเหลือกันและกันในการตัดเย็บจีวร  ขณะนั้นแม้พระพุทธองค์
ก็เคยประทับเป็นประธานในการจัดทำจีวร  และทรงใช้ผ้าจีวรจากผ้าบังสุกุลเช่น
พระภิกษุอื่น  กาลต่อมาจำนวนพระภิกษุสงฆ์เพิ่มขึ้น  การแสวงหาผ้าทำจีวร
ค่อนข้างลำบาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับจีวรซึ่งมีผู้
จัดทำถวายได้  เรียกว่า  คหบดีจีวร  มีเรื่องเล่าว่า  หมอชีวกโกมารภัจ 
หมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร  แห่งแคว้นมคธ  ซึ่งเป็นหมอประจำ
พระพุทธเจ้าและพระสาวกด้วย  เป็นผู้ทูลขออนุญาต  โดยทูลขอขณะเมื่อเข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้า  ณ ชีวกัมวราราม  พระพุทธเจ้าได้ทรงตริตรองแล้วไม่เห็นโทษ
ก็โปรดประธานอนุญาต  นับแต่นั้นมาคนทั้งหลายก็สามารถนำผ้าจีวรมาถวาย
พระได้โดยตรง  ถือว่าเป็นคหบดีจี
วร 

   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
     
                 ความหมาย                        ประเภทของผ้า                          ประโยชน์