พิธีโกนจุก

 
         
 
 
 
พระครูพราหมณ์ขณะขริบผมให้กับเด็กที่มาตัดจุกโกนผมไฟ   ที่มา : สมปอง ดวงไสว. 2557,52
 
 

เครื่องที่จะต้องเตรียมเพิ่มเติมขึ้นในการพิธีทำขวัญจุก ก็คือ:
๑.บายศรี
๒.มะพร้าวอ่อน
๓.กล้วยน้ำ
๔.ขนมต้มแดง
๕.ขนมต้มขาว
๖.ช้อนเงินสำหรับตักของให้เด็กกิน
๗.ข้าวสาร
๘.ขันสำหรับปักแว่นเทียน
๙.ใ บพลู ๗ ใบ (ใส่พานไว้สำหรับใส่คะแนนนับรอบเวียนเทียน)
เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี จึงให้เด็กมานั่งต่อจากบายศรีเหล่านั้น บิดามารดาและบรรดาญาติผู้ใหญ่
ตลอดแขกที่มานั่งล้อมเป็นวงโดยรอบ ให้เด็กและเครื่องทำขวัญอยู่กลางวง โหรหรือพราหมณ์ผู้กล่าว
คำขวัญเริ่มพิธีจุดธูปเทียนบูชา แล้วจึงว่าเชิญคำขวัญตามทำนอง ครั้นจบแล้วให้เอาด้ายสาย
สิญจน์ผูกข้อมือเด็กข้างละ ๓ เส้น ลั่นฆ้องชัยและเริ่มเวียนเทียน วิธีเวียนเทียนนี้ต้องเวียน
จากซ้ายมาขวาเป็นทักษิณาวรรต เวียนจนครบ ๗ รอบ ดับโบกควันเทียน แล้วเอากระแจะจันทน์
เจิมเป็นรูปอุณาโลมที่หน้าผากเด็ก เอช้อนตัดมะพร้าวอ่อนกับไข่ขวัญให้เด็กกิน๓ ครั้ง
(ไข่ขวัญคือไข่ยอดใบศรี) ครั้นแล้วจึงเบิกบายศรี ลั่นฆ้องชัยแล้วโห่ขึ้น พิณพาทย์มโหรีบรรเลงเพลง
ผู้ร่วมงานต่างก็อำนวยอวยพรให้เด็กอยู่เย็นเป็นสุข ตอนนี้ถ้ามีของขวัญก็เอาของใส่ลงในขัน
(ตามธรรมเนียมเดิม) ให้เด็กนั้นนำของขวัญไปเก็บไว้บนที่นอน ๓ วัน
สมัยนี้มักไม่ใคร่ตั้งขันรับของเหมือนเดิม เพราะของที่ผู้นำมาให้เป็นของขวัญนั้นจิปาถะ ซึ่งจะเป็น
สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้ เช่น ขันเงิน พายเงิน พานทอง ภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ เจ้าภาพจึงใช้ตั้งโต๊ะ
สำหรับวางของขวัญแทนการตั้งขัน ส่วนโบราณเดิมนั้นนิยมให้ของขวัญกันเป็น เงิน ทอง หรือ
เครื่องสุวรรณกาญนาภรณ์ ซึ่งพอใส่ลงในขันได้ เจ้าภาพจึงตั้งขันไว้ตามธรรมเนียม
ส่วนผมจุกที่ตัดโกนออกแล้ว ให้ใส่กระทงบายศรีนำไปลอยเสียในแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำไหลเสมอ
 สำหรับผู้ถือประเพณีเดิมเคร่งครัดใช้ลอยในเวลาน้ำไหลลงด้วย เป็นอันเสร็จพิธีมงคลโกนจุก

 
 
    
 
           
    เครื่องใช้ในการทำพิธี  
 
ความสำคัญและช่วงเวลาที่จัด
กำหนดการการทำพิธี
  พิธีกรรม  
                         HOME                MAIN