พิธีโกนจุก

 
         
 

ประวัติความเป็นมาและทรงผมต่างๆ  
ประวัติความเป็นมาพิธีมงคลโกนจุก  คนไทยสมัยโบราณมักนิยมให้เด็กไว้ผมจุก เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่ายังเป็นเด็ก
เมื่อเข้าไปปรากฎตัวในที่ชุมชน คนทั่วไปเห็นย่อมให้ความเมตตาให้การอุปการะช่วยเหลือ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ
 เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน หากให้เด็กไว้ผมยาวก็จะไม่สะดวก สร้างความรำคาญ อีกทั้งยังดูแลรักษายาก
เพราะเด็กอยู่ในวัยซุกซน แต่ในขณะเดียวกันกะโหลกศรีษะหรือกระหม่อมของเด็กซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า "ขวัญ"
นั้นยังบอบบางคือยังต่อกันไม่สนิท โดยเชื่อกันว่าขวัญหรือชีวิตวิญญาณคนเราอยู่ที่กระหม่อม หากสังเกตจะเห็นว่า
บริเวณขวัญของเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็กๆ จะเห็นตรงกระหม่อมบางๆ เต้นตุบๆ จึงถือเป็นส่วนที่สำคัญของชีวิต
ดังนั้นหากไปโกนผมตรงส่วนนั้นออก อาจเป็นอันตรายได้ จึงโกนเฉพาะส่วนอื่นๆ ปล่อยตรงขวัญไว้ครั้นเมื่อผมยาว
มากขึ้น ปล่อยไว้ก็จะสร้างความรำคาญให้แก่เด็กแลดูไม่เรียบร้อย จึงเกล้ามัดขึ้นเป็นจุก ซึ่งในสมัยโบราณนิยม
ให้เด็กไว้ผมทรงต่างๆ ดังนี้

 
 
 
 

ที่มา : สมปอง ดวงไสว. 2557,49

 
 

ผมจุก คือผมที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม ราชาศัพท์เรียกว่า พระเมาลีหรือพระโมลี
ผมแกละ คือผมที่เอาไว้เป็นหย่อมหรือเป็นปอยที่ข้างศรีษะ เด็กางคนก็ไว้แกละเดียว บางคนก็ไว้สองแกละ
ผมเปีย คือผมที่ไว้ปล่อยยาวให้ห้อยลงมา แต่ผู้ใหญ่จัดการนำมาถักไขว้กันและผูกไว้ให้ดูเรียบร้อย ผมเปีย
ของเด็กจะต่างกับผมเปียที่สาวๆ ชอบไว้ เพราะผมเปียของเด็กจะยาวเฉพาะผมส่วนที่ปล่อยไว้คลุมขม่อมเท่านั้น
ส่วนอื่นๆ บนศรีษะโกนเกลี้ยงเกลา แต่ผมเปียของสาวๆ จะไว้ยาวทั้งศรีษะแล้วรวบมาทางด้านหลัง จัดการถักไขว้
ให้ดูเรียบร้อยและสวยงาม บางครั้งนำโบหรือเครื่องประดับอื่นๆ มาติดไว้
ผมโก๊ะ คือ ผมที่ไว้เป็นหย่อมหรือปอยคล้ายผมแกละ แต่ไม่ได้ถักเปียอย่างผมเปียเพียงแต่ผูกไว้ไม่ให้รุงรั

จนสร้างความรำคาญให้แก่เด็ก

 
 
    
 
           
    เครื่องใช้ในการทำพิธี  
 
ความสำคัญและช่วงเวลาที่จัด
กำหนดการการทำพิธี
  พิธีกรรม  
                          HOME                MAIN