|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภายในวิหารที่สร้างคลุมรอยเท้าบนพื้นหินที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยเท้าหลวงพ่อทวด
ก่อนท่านหายตัวจากวัดไปโดยไร้ร่องรอย |
|
|
|
|
ชีวประวัติของหลวงพ่อทวด(ต่อ) |
|
|
|
|
ในหนังสือเพลาเรื่องกัลปนาวัดพะโคะกล่าวว่าเขาพะโคะเดิมชื่อเขาภีพัชสิง
หรือพิเพชรสิงต่อมามีการสร้างวิหารและสร้างรูปพระโคะหรือพระโคตรมะ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ จากนั้นมาชาวบ้านจึงเรียกกันว่าเขาพะโคะ
บริเวณรอบเขาพะโคะเป็นชุมชนใหญ่มาแต่สมัยโบราณ เขาที่อยู่ต่อเนื่องจาก
เขาพะโคะคือเขาคูหา ซึ่งมีหลักฐานของการขุดเจาะถ้ำเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม
เนื่องในศาสนาฮินดู มีท่าเรือที่สามารถติดต่อกับชุมชนรายรอบทะเลสาบและ
ปากน้ำทางทะเลได้โดยไม่ยากนัก อยู่ในรัศมีไม่เกินหนึ่งถือสองกิโลเมตร
ใกล้เคียงกับวัดพะโคะ บริเวณนี้มีการอยู่อาศัยสืบเนื่องจากเมืองสทิงพาราณสี
ในตำนานช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ลงมา และกลับมารุ่งเรือง
ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะอีกครั้ง
เนื่องจากบ้านเมืองแถบใกล้ชายฝั่งทะเลนี้ถูกโจมตีจากโจรสลัดมลายูหลายครั้ง
วัดพะโคะและชุมชนโดยรอบก็เป็นแห่งหนึ่งที่ถูกปล้นและเผาบ้านเมืองครั้งใหญ่
มีบันทึกไว้ว่าราวปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรบ้านเมืองระล่ำระสายไม่สามารถ
ฟื้นตัวได้ ต่อมาเจ้าอาวาสวัดพะดคะหรือหลวงพ่อทวด ซึ่งเคยอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
และน่าจะเป็นพระสงฆ์ผู้มีบารมีในฐานะพระผู้ใหญ่ จึงขอพระราชทานการ
บูรณะวัดครั้งสำคัญในสมัยของพระเอกาทศรถ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๓
หรือในอีกราวกว่าสิบปีต่อมา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รูปปั้นหลวงพ่อทวดเดินธุดงค์ เป็นหนึ่งในรูปปั้นที่นิยมกัน
นอกจากรูปปั้นหรือรูปหล่อในท่านั่งสมาธิ ที่มา : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ.2556,39
|
|
|
|
|
พระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาพระราชทานพระบรมราชูทิศกัลปนาวัดต่าง ๆ
ตั้งแต่บริเวณปากทะเลสาบสงขลาที่หัวเขาแดงจนถึงเขาพังไกร ทั้งหมดราว ๖๓ วัด
ขึ้นกับวัดพะโคะ จนกลายเป็นประเพณีที่วัดต่าง ๆ ในแถบนี้มักจะขอพระราชทาน
พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานที่ดิน ไร่นา อันเป็นของหลวงให้วัดวาอารามเพื่อ
บำรุงพระพุทธศาสนารวมทั้งผู้คนเพื่อปรนนิบัติพระสงฆ์และทำไร่ทำนา
การกัลปนาเหล่านี้ถูกบันทึกและยืนยันในสิทธิของวัดเหลือที่ดินและผู้คน ปรากฏอยู่
ในเพลาพระตำรา ซึ่งมีการเก็บรักษาสืบทอดกันอีกหลายฉบับ
เรื่องราวของหลวงพ่อทวดที่วัดพะโคะจึงสัมพันธ์กับการกัลปนาเพื่อบำรุงวัด
และคณะสงฆ์ของทางกรุงศรีอยุธยาอันมีสาเหตุเนื่องมาจากป้องกันการโจมตี
ของกลุ่มโจรสลัดมลายู
อีกสาเหตุหนึ่งสันนิษฐานว่า บริเวณคาบสมุทรสทิงพระเป็นเขตต่อแดนระหว่าง
อำนาจทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยากับปาตานี ซึ่งเป็นรัฐิสลามและมีความสำคัญในฐานะ
เมืองท่าทางการค้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสงขลาและนครศรีธรรมราชจึงมีเหตุวุ่นวาย
เกิดขึ้นในบ้านเมืองเป็นประจำจากการรบพุ่งแย่งชิงอำนาจทางการเมืองที่เชื่อมโยง
กับฐานทางเศรษฐกิจของขุนนางและตระกูลใหญ่ต่าง ๆ ภายในด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
การเผยแผ่ศาสนาของหลวงพ่อทวด |
|
|
|
|
|
HOME
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|