ชีวประวัติของหลวงพ่อทวด    
   

น้อยคนนักที่จะทราบถึงความสำคัญของท่านในหน้าประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา
และเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านตำนานท้องถิ่นของบ้านเมืองแถบคาบสมุทรสทิงพระ
    หลวงพ่อทวดได้รับสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จฯ  จากราชสำนักกรุงศรีอยุธยาเป็น
 “สมเด็จเจ้าพะโคะ”  หัวหน้าคณะสงฆ์ลังกาชาดทีวัดพะโคะ  โดยได้รับการกัลปนาที่ดิน
และผู้คนมาเป็นข้าพระโยมสงฆ์ปกครองท้องถิ่นและชุมชนในช่วงที่มีโจรสลัด
จากปลายแหลมมลายูเข้าปล้นบ้านเมือง  ถือเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาททางสังคม
และความเชื่อในเขตปลายแดนรัฐสยามที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง

   
   
  
   
   

บริเวณท้องนาที่เล่ากันว่าพ่อและแม่ของหลวงพ่อทวดอธิษฐาน ขอให้งูใหญ่เลื้อยจากไปจากบริเวณที่แขวนเปลมีรูปปั้นเล่าเรื่องขนาดเกือบเท่าจริงและ บริเวณวัดดีหลวง ซึ่งมีต้นเลียบหรือต้นกร่างสถานที่ฝังรกของหลวงพ่อทวด

ที่มา : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ.2556,35 และ37

   
   
  
   
   

ศาลตาหูยายจันทร พ่อและแม่ของหลวงพ่อทวดที่วัดดีหลวง
 ที่มา : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ.2556,38

 

ทุ่งนาและดงตาลแถบภูมิทัศน์ของแผ่นดินบกหรือคาบสมุทรสทิงพระ    
   

    สำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นทุกวันนี้ยังคงจดจำและดูแลรักษาสถานที่สำคัญ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดไว้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง  เช่น  ทุ่งเปล
 สถานที่เกิดเหตุมีงูใหญ่มาพันรอบเปลที่แม่ผูกไว้ใต้ร่มไม้เมื่อต้องออกไปเกี่ยวข้าว
ครั้งเมื่อท่านยังเป็นทารก  ต้นกร่างหรือต้นเลียบที่เชื่อว่าใช้ฝังรกของท่าน
เมื่อแรกเกิด  แม้แต่สถานที่ตั้งเรือนของตระกูลที่บ้านดีหลวง  ก็ยังเป็นพื้นที่โล่ง
ไม่มีใครเข้าไปบุกรุกสร้างบ้านซ้อนทับ  รวมทั้ง  วัดพะโคะ  หรือวัดราชประดิษฐาน
 ซึ่งเป็นวัดหลวงและคงความสำคัญอย่างสืบเนื่องมาโดยตลอด
   นอกเหนือจากที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณแล้วยังปรากฏแน่ชัดว่า
  ท่านเป็นผู้นำทางการปกครองผู้คนข้าพระซึ่งมีผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นชุมชน
ภายใต้บารมีของท่านเหนือผู้ปกครองฆราวาสในแถบคาบสมุทรสิงพระ
และเรื่อยไปจนถึงอีกฟากฝั่งหนึ่งของทะเลสาบแถบพัทลุงด้วย

   
   

           เหตุนี้ตำนานความอัศจรรย์ในชีวประวัติของหลวงพ่อทวด  จึงมีอภินิหารปรากฏ
เป็นคำบอกเล่าในลักษระของผู้มีบุญ  มิใช่ผู้คนธรรมดา  กลายเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ
  ชื่อเสียงเลื่องลือไปจนถึงบ้านเมืองของชาวมลายูที่ปาตานี  เพราะมีคนพุทธ
ที่ปัตตานีศรัทธาตำนานจากท้องถิ่น  วัดช้างไห้ในอำเภอโคกโพธิ์  จากตำนาน
เรื่องเล่าในท้องถิ่นก็สร้างสมมติฐานจนเชื่อกันภายหลังว่าท่านจำพรรษา
เป็นวัดสุดท้ายในช่วงปลายชีวิต
  จึงเล่าลือกันว่าท่านออกเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนมลายูทางรัฐปาตานี
จนถึงทั้งฝั่งเคดาห์และกลันตันในดินแดนมาเลเซียปัจจุบัน  เนื่องจากเชื่อว่า
ท่านไปสร้างวัดในหมู่ชาวพุทธไว้หลายแห่ง  หลังจากที่หายตัวตนไปจาก
คาบสมุทรสทิงพระแล้ว
  เรื่องราวของ  หลวงพ่อทวด  หรือ  สมเด็จเจ้าพะโคะไม่ใช่เป็นเพียงตำนานเล่าขาน
กันในท้องถิ่นเท่านั้น  แต่ปรากฏในหลักฐานเอกสารที่ชาวบ้านเก็บรักษาไว้เรียกว่า
 พระตำราเป็นเอกสารเก่าหนังสือสมุดไทยขาวเส้นหมึกหรือหนังสือบุดและ
หนังสือเพลา  ที่เป็นสมุดจีนสีขาว  พระเพลาหรือตำราพระกัลปนา
จากพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้นชาวบ้านถือเป็น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องมีผู้ดูแลตามสายตระกูล

   
                             NEXT        
   
MAIN
วัดพะโคะ
ชีวประวัติของหลวงพ่อทวด
                     การเผยแผ่ศาสนาของหลวงพ่อทวด      
   

  HOME