|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเผยแผ่ศาสนาของหลวงพ่อทวด(ต่อ) |
|
|
|
|
เรื่องราวเกี่ยวกับหลวงพ่อทวดแยกได้เป็นสองเรื่องราว
๑. ตามประวิติศาสตร์ซึ่งปรากฏนามว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ และ
๒. เรื่องราวตามตำนานเล่าขานสืบต่อมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม
หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
การผสมผสานระหว่างบันทึกทางประวัติศาสตร์และตำนานบอกเล่าทำให้
เรื่องราวของหลวงพ่อทวดยังเป็นที่เล่าลือกันมาถึงทุกวันนี้ โดยสถานที่
ที่ปรากฏในตำนานเหลวงพ่อทวดได้รับการเก็บรักษาไว้โดยท้องถิ่น
เป็นอย่างดี เช่นต้นเลียบขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่าฝังรกของหลวงพ่อทวด
ไว้ถือเป็นตัวแทนของหลวงพ่อทวด มีการสร้างศาลาตาหู-ยายจันทร์
โยมบิดามารดาของหลวงปู่ทวดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกัน มีสถูป
สมภารจวง พระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่ทวดที่วัดดีหลวง
สถานที่เหล่านี้ทำให้ตำนานของหลวงพ่อทวดยังคงโลดแล่น
ในความทรงจำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บ่อน้ำ ที่ใช้ซักจีวรของหลวงพ่อทวด |
|
|
|
|
ตำนานหลวงพ่อทวดยังคงตอกย้ำเพื่อบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์
ของพระสงฆ์ผู้หนึ่งอย่างไม่มีวันสิ้นสุดในบรรดาพระสงฆ์ซึ่งเป็นรู้จักกันดี
ในหมู่พุทธศาสนิกทั่วไปนั้นหลวงพ่อทวด แห่งคาบสมุทรสทิงพระ
นับเป็นพระผู้ศักดิ์สิทธิ์และมีความหมายอย่างยิ่งต่อสังคมและวิถีชีวิต
ของคนท้องถิ่นสร้างศรัทธาแก่ชาวพุทธที่นิยมเลื่อมใสกลายเป็นสิ่ง
ยึดเหนี่ยวจรรโลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันนี้ที่สังคมไทยต่างโหยหา
ที่พึ่งพิงทางจิตใจ ท่ามกลางการดำเนินชีวิตที่สุดแสนจะล้ำสมัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เอกสารอ้างอิง
ใต้..หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราวความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้ : 2547. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ.2556. หลวงพ่อทวด พระสงฆ์ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองใต้. วัฒนธรรม. 52(1) : 35-40. |
|
|
|
|
|
|
ชีวประวัติของหลวงพ่อทวด |
|
|
|
|
|
|
HOME |
|
|
|
|
|
|
|
|
|