วันพฤหัสบดี ชื่อว่า “กาโลทุกข์” มีหัวเป็นกวาง มีผิวกายสีเหลืองอ่อน 
วันศุกร์ ชื่อว่า “ยักษ์นงเยาว์” มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน 
วันเสาร์ ชื่อว่า “เอกาไลย์” มีหัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ ทุกตนทรงอาภรณ์(เสื้อผ้า)สีทอง 
 
  ที่มา : “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ  ”http://www.oknation.net/blog/paaru/2008/08/08/entry-1  

ความเชื่อของชาวภาคใต้เรื่อง “แม่ซื้อ”
(ฮ้าเอ้อ...เหอ) น้องนอนเหอ นอนให้หลับดี
แม่ซื้อทั้งสี่ เข้ามาพิทักษ์รักษา
อาบน้ำป้อนข้าว มารักษาเจ้าทุกเวลา
มาช่วยพิทักษ์รักษา เด็กอ่อนนอนใน...เปล...เหอ
แม่ซื้อหรือแม่เซ้อเป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผี
ก็ไม่ปรากฏชัด แต่เชื่อกันว่าทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ ดังปรากฏ
ในเพลงกล่อมเด็กที่กล่าวแล้ว
เพลงร้องเรือหรือเพลงกล่อมเด็กบทนี้ได้กล่าวถึงแม่ซื้อ แม่ซื้อหรือแม่เซ้อ (ในบางท้องถิ่น) หมายถึง
 เทวดาหรือผีที่ประจำทารก แม่วีก็เรียก
แม่ซื้อทั้งสี่นี้ หมอทำขวัญบางคนว่าเป็นหญิงทั้งหมด ดังบททำแม่ซื้อของนายปาน เพชรสุวรรณ
อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ระบุชื่อแม่ซื้อไว้ด้วยว่า "แม่ซื้อทั้งสี่พัลลิกาเทวี
สนทรีแจ่มจันทร์ พัลลิกาบัวโบต คนธรรพคนธรรมพ์ทั้งสี่แจ่มจันทร์ แม่เลี้ยงรักษา" นามหรือ
ชื่อของแม่ซื้อทั้งสี่ตนนี้ บางท้องถิ่นก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่นชื่อว่า"ผุด ผัด พัด ผล" ก็มี              Previous               Next

       HOME        MAIN                      ความหมาย               ความสำคัญ              พิธีกรรม           แม่ซื้อประจำวัน