๒. ศิล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ตามหลังศาสนาของตน อย่างน้อยก็ขอให้เรา
ได้ปฏิบัติตามศีล ๕ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักขโมยของของผู้อื่น
ไม่ล่วงละเมิดลูกเมียเขาไม่พูดโกหก หรือพูดส่อเสียดยุยงให้คนเขาทะเลาะเบาะแว้งกัน
และควรทำตนให้ห่างไกลจากเหล้า บุหรี่ หรืออบายมุขต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้
นอกจากจะทำให้เราเสียเงินแล้ว ยังเสียสุขภาพและใจ ทั้งของตัวเราเองและ
คนใกล้ชิดเราด้วย
๓. ปริจจาคะ คือ ความเสียสละ หมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตน
เพื่อความสุขหรือประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งอาจจะเป็นครอบครัว หน่วยงาน
หรือเพื่อนร่วมงานของเราก็ได้ เช่น ครอบครัว พ่อบ้านเสียสละความสุขส่วนตัว
ด้วยการเลิกดื่มเหล้าทำให้ลูกเมียมีความสุข และเพื่อนบ้านก็สุขด้วย
เพราะไม่ต้องฟังเสียงอาละวาด ด่าทอทุบตีกัน หรือเราอาจจะเสียสละเวลาอยู่เย็น
ช่วยเพื่อนทำงาน หรือไปเข้าค่ายพัฒนาชนบท อาสาไปดูแลเด็กในสถาน
เลี้ยงเด็กกำพร้าเป็นครั้งคราว หรือเสียสละร่างกาย/อวัยวะหลังตาย
แล้วเพื่อการศึกษา เป็นต้น ซึ่งการเสียสละดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก
เพราะมิใช่จะสละกันได้ง่าย ๆ โดยทั่วไปการเสียสละไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม
ถือเป็นการลดความเห็นแก่ตัวซึ่งล้วนมีส่วนช่วยให้สังคมดีขึ้นทั้งสิ้น ๔. อารชชวะ คือ ความซื่อตรง หมายถึง ดำเนินชีวิตและ
ปฏิบัติภารกิจ/หน้าที่การงานต่าง ๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่คิดคดโกง
หรือหลอกลวงผู้อื่น เช่น ถ้าเราขายของ ก็ไม่เอาของไม่มีไปหลอกขายลูกค้า
เป็นข้าราชการ พนักงานบริษัทห้างร้าน ก็ไม่คอรัปชั่นทั้งเวลา ทรัพย์สิน
ของหน่วยงานตน เพราะถ้าทุกคนเอาเปรียบหรือโกงกิน นอกจากจะทำให้
หน่วยงานเราไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้เกี่ยวข้องแล้วในระยะยาวอาจทำให้
หน่วยงานเราล้ม ผู้ที่เดือดร้อนก็คือเรา แม้เราจะได้ทรัพย์สินไปมากมาย
แต่เงินบาปที่ได้ก็จะเป็นสิ่งอัปมงคลที่ทำให้เราไม่เจริญก้าวหน้า
ถูกคนรุมสาปแช่ง และแม้คนอื่นจะไม่รู้ แต่ตัวเราย่อมรู้อยู่แก่ใจ
และไม่มีวันจะมีความสุขกาย สบายใจ เพราะกลัวคนอื่นจะมารู้ความลับ
ตลอดเวลา ผู้ที่ปะพฤติตนด้วยความซื่อตรงแม้ไม่ร่ำรวยเงินทอง แต่จะมั่งคั่ง
ด้วยความเป็นมิตรที่จริงใจตายก็ตายตาหลับ ลูกหลานก็ภาคภูมิใจ
เพราะไม่ต้องแบกรับความอับอายที่มีบรรพบุรุษขี้โกง |