ความเชื่อ วัฒนธรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
                   การเต้นซัมเปงไม่มีความเชื่อที่ยุ่งยากประการใด  กล่าวคือผู้แสดงจะเป็นใครก็ใดสถานที่ใดก็ได้  เว้นแต่ศาสนสถานและในบ้านของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆทางศาสนา  เช่น  ดาโต๊ะยุติธรรม  โต๊ะอีหม่าม  เป็นต้น  เพราะตามวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมถือกันว่า  ผู้ดำรงตำแหน่งเช่นนี้ไม่ควรแสดงความรื่นเริงอย่างออกหน้าออกตา  และไม่ควรเป็นเจ้าภาพเกี่ยวกับงานรื่นเริง

          ในปัจจุบันนี้  การเต้นซัมเปงได้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมของชาวตะวันตกเข้ามาสอดแทรกมาก  เช่นการใช้ไวโอลีน  และกีตาร์เข้ามาประกอบในการทำเสียงดนตรี  ลีลาท่าเต้นรำก็มีการประดิษฐ์ท่าใหม่ที่มีการจับมือระหว่างคู่เต้นชายหญิงตามแบบการเต้นลีลาศของชาวตะวันตกด้วย (ไพบูลย์ ดวงจันทร์. 2523, 177)

ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547. หน้า 65
ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547. หน้า 65
 
          
<<< Home >>>                                <<< Back >>>                            <<< Next >>>