คุณค่า/สาระ
             การเต้นซัมเปงเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิม
  ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีลีลาการเต้นคล้ายคลึงกับการเต้น
  รองเง็ง  มีผู้สันนิษฐานว่าคงเป็นการเต้นรำที่ได้แบบอย่างมาจาก
  ฝรั่งชาติสเปน ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต แล้วได้เอามา
  ผสมผสานกับลีลาการเต้นรำตามแบบของชาวพื้นเมืองและในชั้น
  แรกน่าจะเกิดขึ้นในราชสำนักของสุลต่านหรือในบ้านของขุนนาง
  ผู้ใหญ่ก่อน เพราะการเต้นซัมเปงเป็นกาแสดดงงคู่ชายหญิง 
  ซึ่งวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร 
  ดังนั้นผู้หญิงที่ได้ฝึกหัดเต้นซัมเปงก็เป็นเฉพาะบริวารของสุลต่าน
  หรือขุนนางผู้ใหญ่เท่านั้น ส่วนผู้หญิงอื่นไม่มีโอกาสฝึกหัดกันเลย    ต่อมาภายหลังการเต้นซัมปังจึงได้แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้า

               การเต้นซัมปังนิยมแสดงในงานต้อนรับแขกคนสำคัญของ
  ท้องถิ่น หรือเต้นโชว์ในงานรื่นเริง ก่อนนี้การเต้นซัมเปงได้ซบเซา
  ไปเป็นเวลานานมาก   เพราะขาดการสนับสนุน แต่ในปัจจุบันนี้
  ได้รับการฟื้นฟูส่งเสริมจนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย   
ทั้งนี้เพราะการเต้นซัมเปงมีลีลาจังหวะที่งดงาม 
เครื่องดนตรีก็มีเพียงไม่กี่ชิ้น ได้แก่ ฆอรูวัส   รือบะ และฆ้อง 
ตลอดทั้งไม่มีความเชื่อที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากแต่ประการใด            

              ในปัจจุบันการเต้นซัมเปงได้พัฒนาไปจากรูปแบบเดิมมาก  เช่นเดิม   มีท่าเต้นรำเพียงท่าเดียว ก็ได้คิดประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นหลายท่า และมีท่าจับ   มือคู่เต้น ระหว่างชายหญิงซึ่งแต่เดิมไม่มี นอกจากนี้ยังมีกีตาร์
  และไวโอลีนเข้ามาประกอบในการทำเสียงดนตรีด้วย แต่จังหวะทำนอง 
 เพลงและความนิยมในการแต่งกายของการเต้นซัมเปงยังเป็นไป
ตามแบบเดิม

 

ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547. หน้า 64
ที่มา : ใต้...หรอย มีลุย. 2547. หน้า 65
ที่มา : ซัมเป็ง. http://school.obec.go.th/bangbua/play%20thai/Bangbuaweb/Picture/s3.htm
 
          
<<< Home >>>                                <<< Back >>>                            <<<เอกสารอ้างอิง>>>