ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,14

ข้าวหอมมะลินั้นถือเป็นพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะปลูกมายาวนานในแผ่นดินไทย ซึ่งแต่ละพื้นถิ่นอาจเรียกชื่อ
แตกต่างกันออกไป บางพื้นที่เรียกข้าวดอกมะลิ ข้าวขาวมะลิ ขาวหอม โดยชื่อข้าวหอมมะลิ105 ปรากฏ
เป็นที่รู้จักกันในราว พ.ศ. 2494 เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่รวบรวมได้จากเกษตรกรชาวอำเภอบางคล้า
จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายสุนทร สีหะเนิน พนักงานข้าว อำเภอบางคล้า เป็นผู้นำตัวอย่างพันธุ์ข้าว
จำนวน 199 รวง มาปลูกเพื่อศึกษาสายพันธุ์ ณ กองบำรุงพันธุ์ และได้นำไปคัดเลือกเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์
ณ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2498 การทดลองพันธุ์และคัดเลือกใช้เวลา 2 ปี
จนกระทั่งได้ข้าวที่ทดลองพันธุ์ในแถวที่ 105 จากนั้นได้นำไปทดลองในแปลงพื้นที่ภาคเหนือ กลาง และ
อีสาน ในปี พ.ศ. 2502 จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คือ
อำเภอบางคล้า(4) พันธุ์ทดสอบที่ 2 ขาวดอกมะลิ(2) และรวงในแถวที่ 105 จนพบว่าผลผลิตมีความ
เหมาะสมที่จะนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเพาะปลูก และต่อมาได้มีมติพิจารณารับรองพันธุ์ข้าว
หอมมะลิ ในชื่อของข้าวหอมมะลิ105 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 ซึ่งคณะกรรมการได้ระบุคุณ
ลักษณะสำคัญดังนี้
1 เป็นข้าวที่ไวต่อแสง
2 ความสูงของต้นข้าวประมาณ 140 – 150 เซนติเมตร
3 อายุดอกประมาณวันที่ 20 ตุลาคมและสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายน
4 ระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
5 ขนาดของเมล็ดข้าวกล้องยาว 7.5 มิลลิเมตร กว้าง 2.1 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร
6 ลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียวยาวก้นงอน

ที่มา : ข้าวหอมดอกมะลิ http://www.rakbankerd.com/agriculture/
ข้อดี
1 ความคงทนต่อสภาพแล้ง ทนต่อดินเปรี้ยว ดินเค็ม
2 คุณภาพการขัดสีดี เมล็ดข้าวสารใส แข็ง มีท้องไข่น้อย
3 นวดง่ายเนื่องจากเมล็ดร่วงจากรวงง่าย
4 นำมาหุงต้มมีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่ม
5 เป็นที่ต้องการของตลาดขายได้ราคาดี
ข้อจำกัด
1 ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจุดสีน้ำตาล โรคไหม้ และโรคใบหงิก
2 ไม่ต้านทานแมลงบั่ว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
3 ต้นอ่อนล้มง่าย ถ้าปลูกในดินที่อุดมสมบูรณ์สูง
(ที่มา : วารสารวัฒนธรรม ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 , ตุลาคม – ธันวาคม 2557)