ข้าวหอมมะลิ (Thai Jusmine, Hawm Mali Rice หรือ Jasmine rice)
หลายคนที่เคยมีโอกาสได้ย่ำเท้าไปบนคันนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิในยามเช้าตรู่ ช่วงเวลาที่น้ำค้างยังคงเกาะ
ยอดหญ้า และสายลมอ่อนๆ กำลังพัดโชยกลิ่นข้าวหอมๆ คล้ายใบเตยพลิ้วมา ชั่วขณะนั้นแม้ว่าเราจะดูไม่ออก
ว่าทุ่งนาแสนกว้างใหญ่ผืนนั้นปลูกข้าวพันธุ์อะไร หากแต่ความหอมละมุนที่มีลักษณะเฉพาะ ก็ได้บอกให้เรา
รู้ว่า กำลังเดินอยู่ท่ามกลางทุ่งหอมมะลิสีเขียวขจี ต้นข้าวที่พลิ้วไหวโอนเอนด้วยแรงลมทุ่งมองแล้วประดุจ
เส้นผมอันยาวสลวยของแม่โพสพ ว่ากันว่ากลิ่นหอมละมุนละไมของข้าวหอมนั้นลดความเหนื่อยล้า และ
สร้างความสุขสดชื่นให้แก่ชาวนาผู้เพียรพยายามเฝ้าทะนุถนอมต้นข้าวตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
เข้ายุ้งฉาง ซึ่งกลิ่นหอมที่ว่านี้คือ สารน้ำมันที่ระเหยได้ จะมีเฉพาะในข้าวบางพันธุ์เท่านั้น โดยจะเริ่มมี
ตั้งแต่ข้าวยังเป็นต้นกล้าจนกระทั่งข้าวหุงสุก

 
          
 

                 ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,8

                      ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,5

ว่ากันว่าเสน่ห์ของข้าวหอมมะลิก็คือความหอมกรุ่นละมุนละไมและเมล็ดอันอ่อนนุ่มเมื่อยามหุง โดยเฉพาะ
การหุงด้วยเตาถ่าน หรือเตาฟืน ที่จะทำให้มีความหอมเฉพาะตัว พูดง่ายๆ ก็คือ จะหอมยิ่งกว่าการหุงด้วย
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือเตาแก๊สนั่นเอง นอกจากความหอมของข้าวดังที่ว่าแล้ว ข้าวหอมมะลิยังถูกนำมา
ปรุงพันธุ์ใหม่ให้สามารถทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว และดินเค็ม ได้เป็นอย่างดี ทุกวันนี้พื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้
จึงเป็นแผ่นดินทองที่สร้างข้าวหอมมะลิคุณภาพดีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
“ข้าวหอมมะลิ” เป็นชื่อเรียกทางการค้าซึ่งปัจจุบันมี 2 สายพันธุ์ที่เป็นที่นิยม คือ มะลิ105 และ กข15 แต่
ที่ชาวนาทั่วทุกภาคของประเทศนิยมปลูกกันมากในเวลานี้ คือ มะลิ105

     
Next