ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,9.

 

ข้าวหอมไทย
พันธุ์ข้าวหอมพื้นเมืองของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวในกลุ่มอินดิกา 
ซึ่งมีการปลูกแพร่หลายในหลายประเทศของภูมิภาคอุษาคเนย์ สำหรับประเทศไทย
พบว่ามีการเพาะปลูกข้าวหอมอยู่ในแทบทุกภาค  ผลจากการเก็บรวบรวมพันธุ์
ข้าวหอมของกรมการข้าว  ในช่วงต้นทศวรรษ ๒๕๐๐  ปรากฏว่าสามารถรวบ
รวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้เป็นจำนวน ๘๐๓ สายพันธุ์  และในจำนวนดังกล่าวนั้น
พบว่าเป็นข้าวหอมถึง ๒๐๒  สายพันธุ์  เช่น  ข้าวหอมมะลิเหลืองหอม  หอมดง 
หอมทอง  เหลืองทอง  หอมสุรินทร์  หอมดง  หอมทุ่ง  หอมพม่า  หอมเขมร 
จอมจัน  หอมนางนวล  เจ้าหอม  ขาวดอกมะลิ  หอมทุเรียน  หอมหาง 
ขาวดอกมะลิเตี้ย  หอมเศรษฐี  ดอเหลือง  ส้มโฮง  มันเป็ด  แม่ห้าง  แดงหอม 
เหนียวหอม  หอมอ้ม  หอมมาล่า  หอมมาลัย  ล้นยุ้ง  ลูกผึ้ง  หอมเมล็ดเล็ก
 เหนียวหอมมะลิ  เหลืองอ่อนเบา  ขาวตาเจือ  กาบดำ  ปลาไหล  ประดู่แดง 
อีปลอก  อีโกย  เจ๊กเชยเบา  ลายเห็น  ขาวกะเหรี่ยงหอมลาว  ก่ำดำ  หอขี้ควาย 
หอมสะดุ้ง  หนูโขง  หอมสวน  เหนียวดีจระเข้  หอมมะลิ  ๑๐๕ ฯลฯ

                
   
 
   

ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,13

 
บรรดาพันธุ์ข้าวหอมพื้นเมืองที่มีอยู่มากมายเหล่านี้แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และ
ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี  แต่อย่างไรก็ดีเมื่อสังคมและ
เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ระบบการแข่งขัน  อีกทั้งประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 
ทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร  ซึ่งการพัฒนา
สายพันธุ์ข้าวคือความจำเป็นหนึ่ง  ที่มีผลต่อความมั่นคงนั้นหน่วยงานรัฐมี่เกี่ยวข้อง 
และเกษตรกรจำนวนมากจึงมีการคิดค้นและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีความเหมาะสม
กับนิเวศวัฒนธรรมของตนเอง  ด้วยเหตุนี้ข้าวหอมไทยจำนวน  ๑๓  สายพันธุ์ 
จึงถูกนำมาพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ 

       
Next