|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้าวกล้องมะลินิล ที่มา : พัทธนันท์ โอษฐ์เจษฎษ. 2557,13 |
|
สภาพแห้งแล้งที่มีแดด จัดราว 70% ของช่วงเวลาปลูก ทำโดยทุ่ง กุลาร้องไห้มีแสงแดด
และสภาพอากาศไม่เหมือนแหล่งผลิตอื่นๆ อาทิ ประเทศปลูกข้าวค้า ข้าวคู่แข่งที่ชื่อ
“เวียดนาม” ซึ่งต้องพบเจอพายุและ มรสุมมากมาย พละกำลังที่จะประชันกับข้าวหอมมะลิ
ทุ่งกุลาร้องไห้จึง เป็นอันตกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพมหาโหด 2 ประการหลัง เป็น
ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ทำให้ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มีกลิ่นหอมอัน โดดเด่นและมีเสน่ห์
เกินบรรยาย ท้องทุ่งอันไพศาลที่สุดแสนแห้งแล้ง ผืนนี้ยังคงงดงามอร่ามด้วยสีเหลืองทอง
ในฐานะแหล่งผลิตข้าวหอม มะลิที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก |
|
ตำนานแห่งทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ทุงกุลาร้องไห้” นี้มีเรื่องเล่าว่า
พ่อค้าชาวเผ่ากุลาคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพค้าขายสินค้าเครื่องประดับ
และของใช้จิปาถะ เดินทางมาขายตามหมู่บ้านในภาคอีสาน
หนทางไปนั้นมีแต่ทุ่งหญ้าที่แห้งแล้ง พ่อค้าชาวกุลานั้นคิดว่า
ตนเองเป็นนักต่อสู้ที่มี ความเข้มแข็งอดทนเต็มเปี่ยมและเดินได้เร็ว
คงจะใช้เวลาเดินทางไม่นาน จึงเตรียมอาหารและน้ำไปเท่าที่เคย
เมื่อพ่อค้าเดินทางไปจริงๆ แล้วกลับพบว่าแสนกันดารเกินบรรยาย
จนกระทั่งทนทุกข์ทรมานไม่ไหว จนต้องนั่งร้องไห้ตั้งแต่นั้นมา
ชาวบ้านก็พากันเรียกท้องทุ่งแห่งนี้ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” |
ที่มา : http://www.rakbankerd.com/rice-1.php |
สายพันธุ์ข้าวที่ปลูกและนิยมปลูกในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ |
|
|
|
1.ข้าวขาวดอกมะลิ 105
ลักษณะพิเศษมีกลิ่นหอมและเมื่อนำมาหุงเมล็ดอ่อนนุ่ม |
|
|
|
2.ข้าวหอมมะลิ กข15
เมล็ดข้าวอ่อนนุ่ม นิยมปลูกในที่ดอน เพราะให้ผลผลิตเร็วกว่า |
|
|
|
3.ข้าวเหนียว กข 6
คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม |
|
|
|
4.ข้าวหอมนิล
สรรพคุณช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดหัวใจ |
|
|
|
5.ข้าวหอมมะลิแดง
ตัวช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน |
|
|
|
6.ข้าวเหนียวดำ (ข้าวก่ำ)
อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|